กรดไหลย้อน แพนิค

ด้วยความเครียด การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ พักผ่อนไม่เพียงพอ ประเภทอาหารที่รับประทาน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจทำให้มีอาการแย่ลงจนทำให้เข้าใจว่าตัวเองเป็นโรคแพนิคด้วย จริง ๆ แล้วโรคกรดไหลย้อน แพนิคคืออะไร มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ มาดูกันเลย

สารบัญบทความ

ทำความรู้จักกับ “กรดไหลย้อนและแพนิค” ก่อนเบื้องต้น

โรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) คือภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งมีสาเหตุจากกรดในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอกตั้งแต่บริเวณลิ้นปี่ลามขึ้นมาที่หน้าอกและลำคอ เรอมีกลิ่นเปรี้ยว อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นโดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก นอนหงาย โน้มตัวไปข้างหน้า หรือการยกของหนัก เป็นต้น

โรคแพนิค

โรคแพนิค (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนกจัดเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัว วิตกกังวล กระวนกระวายใจ ตื่นตระหนกตกใจขึ้นมาทันทีโดยไม่มีสาเหตุ ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยมักมีอาการกลัวถึงขีดสุดภายใน 10 นาที และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น มักจะคงอยู่ไม่เกิน 20 – 30 นาที

 

สงสัยอาการกรดไหลย้อน หรือแพนิคปรึกษาแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

อาการกรดไหลย้อนกับแพนิค

กรดไหลย้อน แพนิค อาการ

โรคกรดไหลย้อน

อาการของโรคกรดไหลย้อนที่สังเกตได้ เช่น 

  • รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ แสบร้อนกลางอกหรือเจ็บแสบกลางอกหลังรับประทานอาหาร
  • มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ
  • รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและลำคอ
  • จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
  • กลืนลำบาก รู้สึกเหมือนมีอะไรติดในคอ
  • ไอเรื้อรัง เสียงแหบ หายใจมีเสียงวี๊ด

โรคแพนิค

โรคแพนิคมีอาการทั่วไปที่พบได้บ่อยดังนี้ 

  • ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก
  • ปั่นป่วนภายในท้อง
  • มือสั่น ตั่วสั่น
  • เหงื่อออกมาก หนาวๆ ร้อน ๆ
  • หายใจถี่ หายใจตื้น หายใจไม่อิ่ม
  • มือชา ตัวชา 
  • วิงเวียน โคลงเคลง รู้สึกตัวลอย คล้ายจะเป็นลม
  • รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะกลัวตาย
  • กลัวจะควบคุมอาการไม่ได้ กลัวจะเป็นบ้า
  • อยู่คนเดียวไม่ได้

ดู 13 อาการแพนิค พร้อมวิธีรับมือเพิ่มเติม คลิกเลย

โรคกรดไหลย้อนกับโรคแพนิคสัมพันธ์กันอย่างไร?

โรคกรดไหลย้อนกับแพนิคเป็นโรคที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง กล่าวคือ โรคกรดไหลย้อนคือภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการ เช่น แสบร้อนในหลอดอาหาร แน่นหน้าอก และอาจเกิดปัญหาทางเดินอาหารตามมา ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากหูรูดส่วนปลายของหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนมีความผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม สูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด เป็นต้น 

 

ส่วนโรคแพนิคนั้นเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัว วิตกกังวล กระวนกระวายใจ ตื่นตระหนกตกใจขึ้นมาทันทีโดยไม่มีสาเหตุ ผู้ป่วยมักมีอาการกลัวถึงขีดสุดภายใน 10 นาที และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น มักจะคงอยู่ไม่เกิน 20 – 30 นาที 

 

อาการกรดไหลย้อน แพนิคอาจทำให้บางครั้งผู้ป่วยเกิดความสับสน เนื่องจากทั้งสองโรคมีอาการบางอย่างที่คล้ายกัน เช่น อาการแน่นหน้าอก ปั่นป่วน ไม่สบายท้อง จนทำให้ผู้ป่วยเกิดความกลัวและมีอาการแพนิคตามมาได้นั่นเอง

 

ปรึกษาอาการกรดไหลย้อน แพนิคกับแพทย์ผู้ชำนาญการที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง พร้อมรับยา

แยกความแตกต่างระหว่างกรดไหลย้อนและแพนิค

แพนิคกับกรดไหลย้อนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร หลายครั้งอากการกรดไหลย้อนแพนิคทำให้ผู้ป่วยสับสนว่าตัวเองเป็นโรคอะไร หรือเป็นแพนิคพร้อมกรดไหลย้อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอาการของโรคกรดไหลย้อนแพนิคแตกต่างกันดังนี้

ตำแหน่ง
กรดไหลย้อน
แพนิค
หน้าอกช่วงบน
แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางอกหรือเจ็บแสบกลางอกหลังทานอาหาร
ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก หายใจถี่ หายใจตื้น หายใจไม่อิ่ม
ช่องท้อง
มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ จุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่
ปั่นป่วนภายในท้อง มือสั่น ตั่วสั่น
ปากและลำคอ
เปรี้ยวหรือขมในปากและลำคอ
-
จิตใจ
-
รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะกลัวตายกลัวจะเป็นแพนิคซ้ำ

ไม่แน่ใจอาการ ? ทำ แบบประเมินโรคแพนิค ได้เลยที่นี่

เป็นกรดไหลย้อนและแพนิค ดูแลตนเองอย่างไร

กรดไหลย้อน แพนิค รักษา

กินแล้วอย่าเพิ่งนอนทันที

ไม่นอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ ควรเว้นระยะเวลารับประทานอาหารเย็นอย่างน้อย 3 ชั่วโมงแล้วจึงเข้านอน

ออกกำลังกาย

ออกกำลังกายและปรับพฤติกรรมการกินไม่ให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี

เลี่ยงคาเฟอีน อาหารรสจัด

หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต เปปเปอร์มินต์ แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ รวมถึงสารเสพติดต่าง ๆ

ทำใจให้สบาย ไม่เครียด

ฝึกฝนวิธีการจัดการความเครียดทำจิตใจให้สบาย ฝึกการผ่อนคลายด้วยวิธีต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การฝึกหายใจ (Relaxation technique)

พักผ่อนให้เพียงพอ

เพราะการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอทำให้สุขภาพดีขึ้นโดยศึกษาความรู้เรื่องการนอนหลับที่ถูกต้อง นาฬิกาชีวิตของตนเอง และปรับพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับเพื่อให้ความเครียดลดน้อยลง รู้สึกมีความสุขในการตื่นนอน (Sense Of Well-Being) และยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ป่วยง่าย

ปรับมุมมอง

ฝึกมองโลกในแง่บวก เพื่อลดความวิตกกังวล ฟุ้งซ่าน ฝึก Growth mindset


BeDee Tips: ดูเคล็บลับ วิธีเอาชนะแพนิค เพิ่มเติมจาก BeDee ได้เลย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกรดไหลย้อนกับแพนิค

1. กรดไหลย้อนและโรคแพนิครักษาหายหรือไม่?

โรคกรดไหลย้อนและโรคแพนิคนั้นเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง และรักษายากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับโรคแพนิคนั้นมีวิจัยพบว่า เมื่อติดตามผู้ป่วยแพนิคอย่างต่อเนื่อง พบว่าประมาณร้อยละ 30-40 ไม่มีอาการในระยะยาว ประมาณร้อยละ 50 เมื่อติดตามระยะยาวจะมีอาการหลงเหลือเพียงเล็กน้อย ไม่กระทบชีวิตอย่างชัดเจน และประมาณร้อยละ 10-20 จะยังคงมีอาการในระยะยาว 

 

ส่วนโรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการปรับพฤติกรรมร่วมกับการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาและแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์และเภสัชกร

2. กรดไหลย้อนกับแพนิคอันตรายไหม?

โรคแพนิคเป็นโรคเกี่ยวกับ ระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากโรคทางกายอื่นๆ ดังนั้นโรคนี้ไม่เป็นอันตราย และผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิตจากโรคนี้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคทางกายออกก่อนที่จะวินิจฉัยโรคแพนิคจริง ๆ เนื่องจากโรคหัวใจ โรคปอด หรือ โรคไทรอยด์ ที่อาจมีอาการคล้ายกันนี้ิ อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ 

 

โรคกรดไหลย้อนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ซึ่งโดยมากเป็นพฤติกรรมของคนเราในปัจจุบันที่อาจหลีกเลี่ยงได้ยากและต้องค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าโรคกรดไหลย้อนจะไม่อันตรายถึงชีวิตแต่สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วย หากปล่อยไว้นานก็ยากต่อการรักษาและอาจเกิดอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดเป็นแผลในกระเพาะ เกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบ หรืออาจเกิดแผลและเลือดออกบริเวณหลอดอาหารเรื้อรัง หากไม่แน่ใจอาการควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

สรุปไม่ว่าจะกรดไหลย้อนหรือแพนิค ต้องรีบรักษา

กรดไหลย้อนแพนิคอาจมีความใกล้เคียงกันหรือมีอาการคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องการได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อประเมินอาการต่อไป ไม่ควรปล่อยไว้จนอาจลุกลาม 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ และปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ หรือสามารถทำแบบทดสอบความเครียดกับพยาบาล ไม่มีค่าใช้จ่าย เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

นพ.อภิชาญ แดงรุ่งโรจน์

จิตแพทย์ทั่วไป

Katz PO, Dunbar KB, Schnoll-Sussman FH, Greer KB, Yadlapati R, Spechler SJ. ACG Clinical Guideline for the Diagnosis and Management of Gastroesophageal Reflux Disease. Am J Gastroenterol. 2022 Jan 1;117(1):27-56. doi: 10.14309/ajg.0000000000001538. PMID: 34807007; PMCID: PMC8754510.

Website, N. (2023, May 4). Heartburn and acid reflux. nhs.uk. https://www.nhs.uk/conditions/heartburn-and-acid-reflux/

Association, A. P. (2015). Anxiety Disorders: DSM-5® Selections. American Psychiatric Pub.

https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/panic-disorder/#:~:text=Panic%20disorder%20is%20treatable%20and,very%20difficult%20to%20cope%20with.



Department of Health & Human Services. (n.d.). Mental Health First Aid (MHFA) course. Better Health Channel. Retrieved May 5, 2023, from https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/servicesandsupport/mental-health-first-aid-course#the-algee-action-plan

บทความที่เกี่ยวข้อง

พูดถึงโรคซึมเศร้า เราอาจจะนึกถึงภาพถึงกลุ่มคนในช่วงอายุวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นในช่วงหลังมานี้ แต่มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เราอาจไม่ได้นึกถึงว่าอาจเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้เช่นกันได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นอันตรายไม่ต่

มีพบก็ต้องมีจาก… การสูญเสียบุคคลหรือสิ่งที่รัก เช่น บุคคลที่เรารัก หรือสัตว์เลี้ยง เมื่อถึงเวลาหนึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดอยู่กับเราได้ตลอดไป แม้แต่ตัวเราเองก็ตาม แต่การสูญเสียส่งผลกระทบต่อจิตใจไม่น้อย โดยเฉพาะการสู