smiling depression คืออะไร

บ่อยครั้งที่เราจะเห็นเพียงรอยยิ้มที่ดูสดใสของผู้คน แต่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าภายในของคนเหล่านั้นรู้สึกอย่างไร เขาอาจจะกำลังอ่อนไหวหรือร้องไห้อยู่หลายคนอาจเคยเจอเหตุการณ์ที่อยู่ ๆ ทราบว่าคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่ทันสังเกตเห็นหรือมีสัญญาณเตือนมาก่อน เพราะเมื่อเจอกันเขามักยิ้มแย้มแจ่มใสดี ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ได้มีสัญญาณอะไรที่บ่งบ่องว่าพวกเขามีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและกำลังต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งอาการในลักษณะข้างต้นนี้อาจเข้าข่าย อาการที่เรียกว่า Smiling Depression หรือ ภายนอกยิ้ม ภายในเศร้า มารู้จักกับ Smiling Depression คืออะไรกันเลยในบทความนี้

สารบัญบทความ

รู้จักกับ Smiling Depression คืออะไร

ภาวะโรคยิ้มซึมเศร้า หรือ Smiling Depression คือคำอธิบายอาการอย่างหนึ่งในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) โดยผู้ที่มีอาการจะเก็บซ่อนอารมณ์ ความรู้สึกเอาไว้ไม่แสดงออกให้คนรอบข้างได้เห็น กังวลว่าคนรอบข้างจะเป็นห่วง และทุกข์ใจไปกับเขาด้วย เราจึงเห็นเพียงลักษณะที่ยิ้มแย้ม สดใสของพวกเขา หรือที่เรียกกันว่าภายนอกยิ้ม ภายในเศร้า

 

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน Smiling Depression ยังไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นโรคในทางการแพทย์ แต่ใช้เพื่อเป็นการอธิบายลักษณะของอาการเท่านั้น เราจะสังเกตได้อย่างไรว่าคนของข้างเราที่เห็นว่าเขาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดูมีสุขภาพจิตที่ดี ยิ้มแย้ม หัวเราะเฮฮานั้นอาจมี Smiling Depression ซ่อนอยู่หรือไม่ และจากงานวิจัยในต่างประเทศ พบผู้ที่มีลักษณะชอบความสมบูรณ์แบบหรือ Perfectionist มีภาระความรับผิดชอบ ความกดดันสูง มักมีความเสี่ยงต่อภาวะ Smiling Depression ที่มากกว่า

สังเกต Smiling Depression มีอาการอย่างไร

อาการ smiling depression

ลักษณะของผู้ที่เข้าข่ายภาวะ Smiling Depression ภายนอกยิ้ม ภายในเศร้า อาจประเมินอาการได้ตามแบบคัดกรอง/ประเมินภาวะซึมเศร้า อย่าง 2Q 9Q (ของกรมสุขภาพจิต) หรือแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 ถ้าประเมินแล้วพบอยู่ในระดับตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป ควรที่จะเข้าพบขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์ กับนักจิตวิทยา เพราะนั่นถือเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่ง ที่เขาต้องการความช่วยเหลือเพื่อลดความเสี่ยงต่อความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่หรือพฤติกรรมต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่นตามมา

ชวนผู้อ่านสำรวจ checklist ด้านล่าง สังเกตอาการของตนเองหรือชวนสังเกตคนรอบข้างเบื้องต้น ว่ามีอาการตามนี้หรือไม่

  • ยิ้ม แต่สายตาดูไม่สดใส 
  • ดำเนินชีวิตได้ปกติแต่ข้างในรู้สึกเศร้า 
  • หงุดหงิด กระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ
  • รู้สึกตัวเองไร้ค่า สิ้นหวัง รู้สึกผิด หรือแม้กระทั่งมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากตาย
  • ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลีย หรือรู้สึกไม่สนใจ เพลินเพลิดกับกิจกรรมที่เคยชอบทำ
  • ไม่อยากพบเจอผู้คน
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
  • เบื่อ ไม่อยากอาการ หรือมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป รวมถึงมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ 
  • มีปัญหาในการใช้สมาธิจดจำรายละเอียด หรือการคิด การตัดสินใจช้าลงจนคนอื่นสังเกตเห็นได้
  • ใช้สารเสพติด เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ บุหรี่ กัญชา เป็นต้น
ทำแบบประเมินโรคซึมเศร้ากับพยาบาลที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย

เมื่อเป็น Smiling Depression รับมืออย่างไร

บ่อยครั้งผู้ที่มีความสงสัยหรือมีภาวะซึมเศร้า มักจะไม่ค่อยอยากทำอะไร อยากนอน อยู่เฉย ๆ ซึ่งเมื่อไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือเปลี่ยนโฟกัสที่มักวนอยู่กับความคิดในเชิงลบต่อตนเองหรือคนรอบข้าง เมื่อวงจรหมุนวนเรื่อย ๆ จากภาวะก็อาจนำไปสู่โรคทางจิตเวชอย่างโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ได้

 

อย่าางไรก็ตามไม่ใช่ว่าคนเราไม่สามารถที่จะมีความรู้สึกเศร้า เบื่อ หรือท้อแท้ได้เลย ทุก ๆ ความรู้สึกเกิดขึ้นได้ และเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมัน เพียงแต่หากเริ่มรู้สึกว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นมาบ่อย กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน กระทบต่อผู้อื่น นั่นเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งแล้วแหละ ว่าเราจะต้องทำอะไรสักอย่าง 

 

มาดูเทคนิคการรับมือกับภาวะ Smiling Depression เบื้องต้น ดูว่าตัวเราเองพอจะปรับหรือป้องกันภาวะอารมณ์ จิตใจของเราได้อย่างไรบ้าง

  • พูดคุยเปิดใจกับคนที่รู้สึกสบายใจและไว้วางใจ

หาใครสักคน หรือหลาย ๆ คน บอกเล่าเรื่องราวหรือปัญหาที่ทำให้ทุกข์ใจ เช่น เพื่อน คนรัก ครอบครัว หรือคนที่เรารู้สึกสบายใจ เพราะในบางครั้งพวกเขาอาจไม่ทันสังเกตเห็นถึงความทุกข์ใจนั้นของเรา การพูดขอให้ใครคนหนึ่งรับฟังไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดอะไร แต่กลับเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม

 

การได้พูดสิ่งที่กังวลใจ หนักใจให้ใครสักคนฟัง ช่วยทำให้ความรู้สึกของน้ำหนัก ภาระ หรือปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้นเบาบางลงได้ เป็นวิธีรับมือกับภาวะ Smiling Depression ที่ดี

 

  • ออกไปท่องเที่ยวสัมผัสกับธรรมชาติ 

การออกไปท่องเที่ยว เปลี่ยนบรรยากาศ จะให้รู้สึกสดชื่น ลดความเครียด ลองจินตนาการนึกถึงต้นไม้สีเขียว ธารน้ำที่ไหล อากาศที่สดชื่น ชวนให้เราคลายจากเรื่องที่กังวลใจ 

 

  • ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นวิธีจัดการความเครียดที่จะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข ทำให้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ คลายเครียด อยากอาหารมากขึ้น ช่วยหลั่งฮอร์โมนเพศ และเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งเมื่อออกกำลังกายเราจะไปจดจ่ออยู่ที่ร่างกาย ช่วยดึงเราออกจากความคิดกังวลใจ ช่วยลดอารมณ์เชิงลบลงได้ รวมถึงได้รู้สึกว่าทำสิ่งที่ตั้งใจสำเร็จไปหนึ่งอย่าง จะช่วยเสริมแรงใจให้เราคงหรือสนใจอยากทำกิจกรรมนั้นหรืออื่น ๆ ต่อไป

 

  • ทำกิจกรรมที่อยากทำ หรืองานอดิเรก

อีกวิธีที่จะช่วยรับมือกับ Smiling Depression ได้ดีคือการหางานอดิเรก เช่น วาดรูป ฟังเพลง ทำงานศิลปะต่าง ๆ หรือการเล่นกับสัตว์เลี้ยงเพื่อช่วยบรรเทา ผ่อนคลายจิตใจ

 

หากสังเกตว่าลองทำสิ่งต่าง ๆ ตามเทคนิคการรับมือกับอาการ Smiling Depression ด้วยตัวเองเบื้องต้นแล้ว แต่ยังไม่รู้สึกดีขึ้น แนะนำควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัย วางแผนเข้าสู่กระบวนการรักษาทางจิตใจ ไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น หรือหากสงสัยว่าระหว่าง นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ ควรเลือกปรึกษาใครดี? ลองอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ เมื่อมีปัญหาสุขภาพจิตจะเลือกคุยกับใครดีนะ?

 

โดยปัจจุบันนอกจากการรักษาด้วยยา ยังมีการให้คำปรึกษา หรือการทำจิตบำบัดร่วมด้วย เช่น จิตบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) พฤติกรรมบำบัด จิตบำบัดระหว่างบุคคล ครอบครัวบำบัด การฝึกทักษะต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการจัดการความเครียด โดยการทำจิตบำบัด สามารถเข้ารับการรักษาได้ทั้งกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก รวมถึงนักจิตบำบัด

 

ปรึกษาการรับมือภาวะ Smiling Depression หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ กับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

วิธีดูแลคนใกล้ตัวที่สงสัยหรือเป็น Smiling Depression 

การดูแลผู้ที่มีภาวะ Smiling Depression ไม่ต่างจากผู้ที่มีภาวะทางอารมณ์อื่น ๆ ทางจิตเวชเท่าไหร่นัก หรือในฐานะใครสักคนที่มีเรื่องไม่สบายใจ ทุกข์ใจอยู่ ณ ขณะนั้น การรู้สึกถึง Social Support หรือรับรู้ว่ามีคนที่พร้อมอยู่ข้าง ๆ เรา ค่อยเป็นห่วงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากที่ช่วยให้บุคคลเหล่านั้นมีแรงใจในการจัดการ หรือยอมรับกับเรื่องราว เหตุการณ์ที่ตนเผชิญอยู่ ซึ่งในฐานะคนใกล้ชิดเราควรปฏิบัติตัวดังนี้

  1. ทำความเข้าใจอาการที่เป็น
    ญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยควรศึกษา สอบถามลักษณะอาการที่บุคคลนั้นเป็น เพื่อให้เข้าใจที่มา สาเหตุของความคิด พฤติกรรม ความรู้สึกของเขามากขึ้น ช่วยให้เราสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ และถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมากขึ้น

  2. พูดคุย รับฟัง พร้อมอยู่เคียงข้าง
    สำคัญอย่างยิ่งที่เราควรเป็นผู้รับฟังที่ดี ค่อย ๆ ทำความเข้าใจเขา ทั้งนี้อีกสิ่งที่ควรควรตระหนักถึง คือ ไม่ควรรบเร้าให้เขาพูดหรือเล่าในสิ่งที่เขาไม่อยากพูดถึง ทำให้เขารู้สึกสบายใจและไว้วางใจที่จะพูดคุยกับเรา เพราะผู้ที่อยู่ในภาวะทางอารมณ์นั้นอาจรู้สึกน้อยใจ หรือไม่สบายใจกับคำพูดได้ง่าย ดังนั้นเราควรรับฟัง เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเขา รับฟังโดยไม่ตัดสิน พูดคุยกันอย่างใส่ใจ แม้อาจแค่นั่งข้างๆโดยที่ไม่มีการพูดคุยกัน แต่ให้เขารู้สึกว่ามีใครสักคนที่พร้อมอยู่เคียงข้าง พร้อมช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ก้าวเดินไปกับเขา

  3. สังเกตสัญญาณเตือนต่อการฆ่าตัวตาย
    หลายครั้งกว่าเราจะทันสังเกตเห็นก็อาจจะสายเกินไป ในผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า หรือภาวะทางอารมณ์ ย่อมมีความยากลำบากต่อการจัดการอารมณ์ เหตุการณ์ต่าง ๆ หรือการตัดสินใจ สัญญาณเตือนที่เราคนใกล้ชิดสามารถสังเกตเห็นได้ คือ บุคคลเริ่มมีพฤติกรรมที่แยกตัว เบื่อ ไม่สนใจอยากทำอะไร อารมณ์แปรปรวน ซึ่งสัญญาณนี้อาจนำไปสู่ความคิด หรือพฤติกรรมอยากทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่นได้ ซึ่งหากมีสัญญาณดังกล่าว สามารถทำตามคำแนะนำข้อ 1 และ2 เบื้องต้นก่อน จากนั้นชวนเขามาพบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาให้ได้โดยเร็วที่สุด

  4. ช่วยเหลือ หรือชวนทำกิจกรรมต่างๆ
    ผู้ใกล้ชิดควรสนับสนุนเชื้อชวนให้บุคคลทำกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ หรือทำกิจกรรมที่ได้กลับมาดูแลตัวเอง เช่น การออกกำลังกาย ออกไปเดินเล่น วาดรูป ค่อย ๆ ให้เขาทำทีละเล็ก ละน้อย เพื่อให้เขาได้รู้สึกถึงความคุ้นชินต่อสิ่งนั้น รับรู้ถึงความสำเร็จในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เขารู้สึกถึงการมีคุณค่าต่อตนเอง และความภูมิใจในตนเองที่เพิ่มขึ้น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Smiling Depression คือ

1. ทำไมเพศชายจึงมีโอกาสเสี่ยงกับภาวะ Smiling Depression มากกว่าเพศหญิง ?

ปัจจัยที่ทำให้เพศชายเสี่ยงต่อ Smiling Depression มากกว่าเพศหญิงเนื่องจากเพศชายเป็นเพศที่มีการรับรู้ว่าต้องเข้มแข็งอยู่ตลอด ทำให้เลือกที่จะกดเก็บความรู้สึกที่แท้จริงเอาไว้ ไม่แสดงออก ไม่ร้องไห้ออกมาให้ใครเห็น ไม่กล้าบอกใครว่ามีปัญหาเพราะอาจจะทำให้ตัวเองดูเป็นคนอ่อนแอ ซึ่งถ้าเทียบกับเพศหญิงจะมีการพูดคุยปรึกษากับคนสนิทหรือยินดีที่จะพูดเล่าให้คนอื่นฟังมากกว่า จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เพศชายเสี่ยงกับภาวะ Smiling Depression มากกว่าเพศหญิง

2. Smiling Depression อันตรายไหม?

ความอันตรายของภาวะภายนอกยิ้ม ภายในเศร้าSmiling Depression คือการที่คนรอบข้างไม่สามารถสังเกตได้ว่าบุคคลมีภาวะดังกล่าวอยู่ เนื่องจากบุคคลนั้นเลือกที่จะเก็บซ่อนอารมณ์ ความรู้สึก ความเศร้า ความทุกข์ใจเอาไว้ รวมถึงในแง่ที่คิดว่าตนยังสามารถใช้ชีวิต ยิ้มได้ เข้าสังคมได้ปกติ จึงทำให้ละเลยการพบแพทย์ ซึ่งอาจนำมาสู่การสูญเสียได้ในที่สุด

สรุป Smiling Depression คือสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง

เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าบุคคลรอบตัวเรา จะมีภาวะทางอารมณ์ จิตใจที่แฝง ซ่อนอยู่หรือไม่ แต่การเป็นพื้นที่ปลอดภัย รับฟังเรื่องราวของเขา สามารถช่วยทำให้คราบน้ำตาในใจเขาเบาบางลง ช่วยสร้างรอยยิ้ม และแววตาที่สดใจจากใจเขามากขึ้นได้

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

Content powered by BeDee Expert

เมธาวี แสงสมส่วน

นักจิตวิทยาคลินิก


เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Gunnerson, T. (2020, July 17). Smiling Depression: What you need to know. WebMD. https://www.webmd.com/depression/smiling-depression-overview


What is depression? (n.d.). https://www.psychiatry.org/patients-families/depression/what-is-depression


Overcoming depression: How psychologists help with depressive disorders. (2023, March 7). https://www.apa.org. https://www.apa.org/topics/depression/overcoming

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Highlight หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้อย่างหนึ่งคือการเปลี่ยนบรรยากาศ ลาพักร้อน ออกไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ ช่วงวันเสาร์อาทิตย์ หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ไขที่สำคัญที่สุดเลยก็คือการแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม หากรู้สึกหมดไฟ การออกกำลังกายจะช่วยให้

Key Takeaways Introvert คือคนที่มักจะชอบการเก็บตัว รู้สึกสบายใจเมื่อได้อยู่คนเดียวหรือทำงานคนเดียว Introvert เกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และประสบการณ์ บางคนที่มีบุคลิกภาพผสมระหว่าง Introvert และ Extrovert เรียกว่า Ambivert สารบัญบ