13 อาการแพนิค

โรคแพนิคเป็นภาวะทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งกระทบถึงสุขภาพจิตและการทำงานในชีวิตประจำวัน โรคแพนิคเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ ดังนั้นโรคนี้ไม่เป็นอันตราย ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิตจากโรคนี้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคทางกายออกก่อนที่จะวินิจฉัยโรคแพนิคจริง ๆ เนื่องจากโรคหัวใจ หรือโรคปอด ที่อาจมีอาการคล้ายกันนี้ อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ส่วน13 อาการแพนิคที่เราควรต้องสังเกตมีอะไรบ้าง และรับมืออย่างไร มาดูกันเลย

สารบัญบทความ

โรคแพนิค คืออะไร

โรคแพนิค” (Panic Disorder) หรืออาการตื่นตระหนกจัดเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ อาการแพนิคที่เกิดขึ้นคือผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัว วิตกกังวล กระวนกระวายใจ ตื่นตระหนกตกใจขึ้นมาทันทีโดยไม่มีสาเหตุ ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยมักมีอาการกลัวถึงขีดสุดภายใน 10 นาที และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น มักจะคงอยู่ไม่เกิน 20 – 30 นาที

13 อาการแพนิคที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง 

13 อาการแพนิค มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันมีการพูดถึงโรคแพนิคบ่อยครั้งจนอาจทำให้เราสับสนได้ว่าอาการแบบไหนกันแน่จึงจะเรียกว่าเป็นอาการของโรคแพนิค สำหรับ 13 อาการแพนิคในกลุ่มโรค Panic Disorder ที่สังเกตได้ด้วยตัวเองมีดังนี้

  1. ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรือหัวใจเต้นเร็ว
  2. เหงื่อแตก
  3. ตัวสั่น 
  4. มีความรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก หายใจไม่สุด
  5. รู้สึกเหมือนจะสำลัก
  6. เจ็บแน่นหน้าอก
  7. คลื่นไส้ หรือไม่สบายท้อง
  8. รู้สึกเวียนศีรษะ หวิวๆ เหมือนจะเป็นลม
  9. หนาวสั่น หรือรู้สึกร้อน
  10. ตัวชา เป็นได้ทั้งอาการตึง ๆ ไม่รู้สึกอะไร หรือซ่า ๆ
  11. รู้สึกเหมือนไม่ใช่ตัวเอง รู้สึกเหมือนไม่ได้อยู่ในความเป็นจริง
  12. กลัวที่จะเสียการควบคุม รู้สึกเหมือนจะเป็นบ้า
  13. กลัวตาย

 

หากไม่แน่ใจอาการของตนเองว่าอาการแบบนี้เสี่ยงต่อโรคแพนิคหรือไม่สามารถทำแบบประเมินได้เลยที่นี่ โรคแพนิค แบบทดสอบ หรือพูดคุยปรึกษาจิตแพทย์เพิ่มเติม

วิธีจัดการกับ 13 อาการแพนิคด้วยตัวเอง

วิธีรับมือ 13 อาการแพนิค

โรคแพนิคอาจเกิดขึ้นเองโดยที่เราไม่รู้ตัว วิธีเอาชนะแพนิคด้วยตัวเอง สามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตัวเองเมื่อเกิด 13 อาการแพนิคขึ้น ดังนี้ 

  • เข้าใจตัวโรค

ผู้ป่วยจะต้องยอมรับและเข้าใจอาการแพนิคเสียก่อน ผู้ป่วยโรคแพนิคอาจไม่ทราบว่าตนเองมีอาการแพนิคและเข้าใจว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพ แล้วเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือรักษาอย่างไรก็ไม่หายสักทีจนเกิดความกังวล ทำให้อาการแพนิคยิ่งแย่ลงไปอีก หากเปิดใจและเข้ารับการรักษาโดยจิตแพทย์ ก็สามารถแก้อาการแพนิคของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้

 

  • การฝึกควบคุมการหายใจ 

อาการแพนิคมักทำให้ผู้ป่วยหายใจเร็วและมีอาการตึงเครียดยิ่งขึ้น หากเกิดอาการแพนิคให้ค่อย ๆ หายใจช้า ๆ ลึก ๆ ให้รู้สึกว่าลมหายใจเข้าไปเต็มปอดเสียก่อน แล้วค่อย ๆ ปล่อยลมหายใจออกมาช้า ๆ หรือจะหายใจแบบ 4-7-8 ซึ่งเป็นวิธีหายใจแบบผ่อนคลาย โดยให้หายใจเข้าไป 4 วินาที กลั้นลมหายใจไว้ 7 วินาที ก่อนจะปล่อยลมหายใจออกช้า ๆ เป็นเวลา 8 วินาทีก็ได้เช่นกัน

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดระดับความตึงเครียดลงได้ดี การนอนที่เพียงพอควรนอน 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และควรเป็นการนอนที่มีคุณภาพ หลับสนิทตลอดคืน หรือหากตื่นกลางดึกก็สามารถหลับต่อเองได้

 

  • อาการแพนิคเป็นเพียงอาการชั่วคราวที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต

ผู้ป่วยควรเข้าใจว่าอาการแพนิคเป็นเพียงอาการชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งอาการแพนิคโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 3-10 นาทีและหายเองได้ ซึ่งอาการจะคงอยู่ชั่วคราวเพียง 10-15 นาทีเท่านั้นหรือในบางรายอาจนานถึง 30 นาที -1 ชั่วโมง แต่จะหายได้เองทุกครั้ง หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการสามารถปรึกษานักจิตวิทยากับจิตแพทย์ได้

 

  • ตั้งสติ

ขณะมีอาการแพนิคต้องรีบตั้งสติไว้ให้ได้ ไม่ปล่อยให้สติหลุดจนควบคุมตัวเองไม่ได้ โดยให้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การโฟกัสกับโต๊ะ นาฬิกา ภาพวาดว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร มีสีแบบไหน เพื่อไม่ให้เกิดการโฟกัสกับความคิดของตนเอง หรือหากบรรยากาศภายนอกเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคให้ทำการหลับตาเพื่อปิดการรับรู้สิ่งเร้าและโฟกัสกับการหายใจของตนเอง 

 

  • ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ขจัดความเครียด และช่วยให้เราสามารถพักผ่อนได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

  • หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและไม่ใช้สารเสพติด

คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท และทำให้การเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นสิ่งเร้าให้เกิดอาการแพนิคขึ้นง่าย สำหรับผู้ป่วยแพนิคควรจะหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ โกโก้ ชา หรือน้ำอัดลม 

นอกจากนี้ยังไม่ควรใช้สารเสพติด หลายคนอาจหันไปพึ่งพานิโคตินจากบุหรี่หรือแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอาการเครียด ตื่นตระหนก แต่สิ่งเหล่านี้จะยิ่งทำให้เกิดอาการแพนิคมากขึ้นหากสารกระตุ้นหมดฤทธิ์

 

  • พูดคุยกับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด

อาการแพนิคกะทันหันหลายครั้งมักเกิดขึ้นเมื่อเจอสิ่งกระตุ้นเดิม ๆ หรือสถานการณ์กระตุ้นเดิม ๆ หากผู้ป่วยได้บอกให้คนรอบข้างรับรู้ จะช่วยป้องกันการเกิดอาการแพนิคได้ และหากผู้ป่วยเกิดอาการแพนิคขึ้น ผู้คนที่อยู่รอบข้างก็จะสามารถเข้าใจและรับมือกับผู้ป่วยได้ดี

 

  • ค่อย ๆ ปรับตัวกับสิ่งกระตุ้นหรือเหตุการณ์กระตุ้นอาการแพนิค

ไม่หลีกหนีและเข้าเผชิญหน้ากับปัญหา เช่น หากเกิดอาการแพนิคขณะอยู่ในที่มืดก็ค่อย ๆ ปรับตัวอยู่ในที่มืดค่อย ๆ ฝึกอย่างสม่ำเสมอจนสามารถรับมือกับสิ่งกระตุ้นได้เช่นเดียวกับคนปกติ

 

ปรึกษาจิตแพทย์เรื่องอาการแพนิคหรือปัญหาทางด้านจิตใจอื่น ๆ ที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ 13 อาการแพนิค

13 อาการแพนิค vs panic attack

1. โรคแพนิค กับ Panic attack ต่างกันอย่างไร?

อาการแพนิคแอทแท็ค (Panic Attack) มีความแตกต่างจากโรคแพนิค คนที่มีอาการแพนิคแอทแท็คไม่จำเป็นต้องเป็นโรคแพนิคเสมอไป อาการนี้สามารถพบได้ในโรคต่างๆ นอกจากโรคแพนิคได้ เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) โรคกลัวสังคม (Social Anxiety Disorder) โรค กลัวเฉพาะอย่าง (Specific Phobia) โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นต้น 

 

นอกจากนี้ อาการแพนิคแอทแท็คยังอาจเป็นจากโรคทางกาย เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ ความผิดปกติของระดับแคลเซียม ระดับน้ำตาลในเลือด ต่อมไทรอยด์ ต่อมไร้ท่ออื่น ๆ หรือการอยู่ในวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่มีอาการแพนิคแอทแท็คจึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจประเมินโดยแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรักษาได้ทันท่วงที

2. โรคแพนิคอันตรายไหม?

โรคแพนิคเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ ดังนั้นโรคนี้ไม่เป็นอันตราย และผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิตจากโรคนี้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคทางกายออกก่อนที่จะวินิจฉัยโรคแพนิคจริง ๆ เนื่องจากมีโรคทางกายจำนวนมากที่ทำให้มีอาการแพนิคได้ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคทางต่อมไร้ท่อ ไทรอยด์ ระดับแคลเซียมผิดปกติ ระดับน้ำตาลผิดปกติ เป็นต้น โรคเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ และหมั่นสังเกต 13 อาการแพนิคของตัวเองว่ามีลักษณะอาการเป็นอย่างไร

สรุป 13 อาการแพนิครีบเช็กตัวเองด่วน

ถึงแม้ว่าโรคแพนิคจะไม่ใช้โรคร้ายแรงที่ทำให้อันตรายถึงชีวิตแต่ก็สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากผู้ป่วยจัดการศึกษา 13 อาการแพนิคและฝึกรับมืออาการด้วยตัวเองแล้วพบว่ายังไม่ดีขึ้น สามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพิ่มเติมได้ทันทีที่แอป BeDee

 

ไม่แน่ใจเรื่อง 13 อาการแพนิคหรือปัญหาด้านจิตเวชอื่น ๆ ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

พญ.อธิชา วัฒนาอุดมชัย

จิตแพทย์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

NHS. (2021, February 16). Panic disorder. Nhs.uk. https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/panic-disorder/

 

Cleveland Clinic. (2023, February 12). Panic Attacks & Panic Disorder. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/4451-panic-attack-panic-disorder

 

American Psychological Association. (2008). Answers to your questions about panic disorder. Https://Www.apa.org. https://www.apa.org/topics/anxiety/panic-disorder

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน ต้องพบเจอสถานการณ์หลากหลายรูปแบบ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ได้รับแรงกดดัน จนเกิดเป็นความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในแต่ละกรณีก็อาจจะมีวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่หากเป็นความกดดันที่เกิดขึ้น

Key Takeaway โรคกินไม่หยุด คือ ภาวะที่ไม่สามารถหยุดรับประทานอาหารได้แม้จะไม่ได้หิว อยากกินตลอดเวลา มีอาการกินเยอะกว่าปกติ กินจนรู้สึกอิ่ม แน่นท้อง เมื่อทำพฤติกรรมเช่นนั้นแล้วจะรู้สึกผิดในภายหลัง โรคกินไม่หยุดมักเกี่ยวข้องกับความเครียดและปัญหาทางอารมณ