ยานอนหลับ

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

ปัญหาการนอนไม่หลับพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาโรคเครียดโรคซึมเศร้าหรือผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจอื่น ๆ อาการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและคุณภาพชีวิตได้ การกินยานอนหลับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยานอนหลับอย่างไรให้ปลอดภัยและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล มาดูวิธีเอาชนะ อาการนอนไม่หลับในบทความนี้กันเลย

สารบัญบทความ

รู้จักกับยานอนหลับ คืออะไร?

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

ยานอนหลับ คือ ยาที่ออกฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับ ใช้รักษาอาการนอนหลับยาก นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนหลับแล้วตื่นมากลางดึกไม่สามารถหลับต่อได้ หรือในกลุ่มผู้ป่วย โรคแพนิคไบโพลาร์ ที่มีปัญหาในการนอนหลับ โดยยานอนหลับจะช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ง่ายขึ้นและยังรู้สึกสงบมากขึ้นอีกด้วย แล้วยานอนหลับ มีอะไรบ้าง? โดยทั่วไปแล้วยานอนหลับแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ตามโครงสร้างทางเคมี ดังนี้ 

ยานอนหลับกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน Benzodiazepines (BZD)

ยาช่วยนอนหลับในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการจับกับตัวรับ GABA ในสมอง ช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท GABA ยานอนหลับจะไปกระตุ้นให้สมองรู้สึกง่วงนอน ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยคลายกล้ามเนื้อ คลายกังวล ซึ่งสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ 

  1. ยาออกฤทธิ์สั้น (มีความแรงสูง high potency) ยานอนหลับกลุ่มนี้จะอยู่ในร่างกายสั้น ถูกขับออกจากร่างกายได้เร็ว เหมาะกับผู้ป่วยที่นอนหลับยากในช่วงแรก 
  2. ยาออกฤทธิ์นาน (มีความแรงต่ำ low potency) ยานอนหลับกลุ่มนี้จะอยู่ในร่างกายนาน ถูกขับออกจากร่างกายได้ช้า เหมาะกับผู้ที่มักตื่นกลางดึก

ยานอนหลับกลุ่มที่ไม่ใช่เบนโซไดอะซิปีน Nonbenzodiazepines (Non-BZD) 

ยาแก้นอนไม่หลับในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการจับกับตัวรับ GABA ในสมอง ช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท GABA กระตุ้นให้สมองรู้สึกง่วงนอน ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นเช่นเดียวกับยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน แต่โครงสร้างไม่เหมือนกับยากลุ่มแรก ยานอนหลับกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์เร็วภายใน 30 นาที และยาออกฤทธิ์ได้นานถึง 8 ชั่วโมง

ยานอนหลับกลุ่ม Antidepressants

ยานอนหลับ กลุ่มนี้ออกฤทธิ์อย่างอ่อนในการลดอาการซึมเศร้าโดยยับยั้งการดูดซึมของสารสื่อประสาท serotonin กลับเข้าสู่เซลล์ประสาทและมีฤทธิ์เป็น norepinephrine (NE) antagonist ยามีฤทธิ์ง่วงนอน จึงเหมาะสำหรับใช้ในผู้ป่วยซึมเศร้า ซึมเศร้าเรื้อรัง หรือผู้ที่รับยาโรคซึมเศร้าที่มีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย นอกจากนี้ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม Tricyclic antidepressant (TCAs) ยังช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยคลายเครียด และคลายวิตกกังวลในผู้ที่มีปัญหา โรควิตกกังวลได้เช่นเดียวกัน

ยานอนหลับกลุ่ม Melatonin

เมลาโทนินถูกสังเคราะห์จากต่อมไพเนียล (pineal gland) ฮอร์โมนชนิดนี้มีบทบาทสําคัญในการควบคุมสรีรวิทยาของการนอนหลับและวงจรการหลับ-ตื่น (sleep-wake cycle) โดยจะมีการหลั่งออกมามากในตอนกลางคืนและมีระดับต่ํา ในชวงกลางวัน (circadian rhythm) ระดับสูงสุดในพลาสมาของเมลาโทนินจะเกิดในช่วงเวลาประมาณ 2.00 น. ถึง 3.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีการหลับลึก โดยเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในช่วงวัยเด็กเป็นวัยที่มีการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินมากที่สุดและจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทําให้ผู้สูงอายุประสบปัญหานอนไม่หลับได้มาก ปัจจุบันจึงมีการสังเคราะห์เมลาโทนินขึ้นมาเพื่อใช้รักษาอาการนอนไม่หลับ

 

การใช้ยานอนหลับจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด มีปัญหานอนไม่หลับหรือสงสัยว่าใช้ยานอนหลับแบบไหนดี หรือหากสาเหตุของการนอนไม่หลับเกิดจากความเครียด กังวลควร ปรึกษาจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด

หลักการทำงานของยานอนหลับ

หลักการทำงานของยานอนหลับส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทโดยเฉพาะ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (inhibitory neurotransmitter) กระตุ้นให้สมองรู้สึกง่วงนอน ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

ยานอนหลับช่วยเรื่องอะไร

ยานอนหลับออกฤทธิ์กี่ชั่วโมง

ยานอนหลับช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น ทั้งเรื่องระยะเวลาในการนอนหลับ และคุณภาพของการนอน นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการเครียด ผู้ที่มีความเครียดจากโรคเครียดสะสม และวิตกกังวลได้อีกด้วย

ใครที่ไม่ควรใช้ยานอนหลับ

การรักษาอาการนอนไม่หลับควรเริ่มด้วยการรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ การปรับความคิดและพฤติกรรมก่อน เรียนรู้ที่จะมี วิธีจัดการความเครียดที่ดี หากมีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเลือกยาที่เหมาะสม เนื่องจากยานอนหลับควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้ 

  1. ผู้ป่วยโรคตับ (hepatic disease) โรคไต (renal impairment) หรือโรค เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ (respiratory disease or impaired gag reflex or ability to protect the airway from secretion)
  2. ผู้ป่วยสูงอายุที่มีการทำงานของตับ หรือ ไตบกพร่อง ควรเลือกใช้ยาที่มีค่าครึ่งชีวิตสั้น 

 

ไม่แน่ใจหรือต้องการคำแนะนำเรื่องการใช้ยานอนหลับเพิ่มเติมปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย

วิธีใช้ยานอนหลับให้ปลอดภัย

ยานอนหลับเป็นยาอันตรายชนิดหนึ่ง การใช้ยานอนหลับจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เมื่อได้รับยานอนหลับแล้วควรปฏิบัติดังนี้

  1. ใช้ยานอนหลับภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกร 
  2. ไม่ควรหยุดยานอนหลับเอง เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักได้ (สำหรับการยากลุ่ม benzodiazepine) เมื่ออาการดีขึ้นแพทย์จะค่อย ๆ ลดขนาดยาลงเรื่อย ๆ จนผู้ป่วยสามารถหยุดยาได้ในที่สุด
  3. หลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรกล การขับรถ หรืองานที่ต้องใช้สมาธิสูงในช่วงที่ทานยานอนหลับ
  4.  ไม่ควรใช้ยานอนหลับร่วมกับแอลกอฮอล์และยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เนื่องจากตัวยาจะเสริมฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางซึ่งอาจส่งผลใหผู้ป่วยเกิดอันตรายหรือเสียชีวิตได้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยานอนหลับ

ผลข้างเคียงของยานอนหลับนั้นมีมากมาย การใช้ยานอนหลับจำเป็นต้องทราบผลข้างเคียงยานอนหลับดังนี้

ผลข้างเคียงระยะสั้น

  1. ง่วงซึม เป็นผลข้างเคียงยานอนหลับที่พบได้บ่อยที่สุด 
  2. ปวดศีรษะ
  3. คลื่นไส้ 
  4. สับสน มึนงง
  5. ท้องเสีย หรือ ท้องผูก 
  6. อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินเซ เนื่องมาจากฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อของยา จึงควรระมัดระวังการใช้ยานอนหลับกลุ่มนี้ในผู้สูงอายุ

ผลข้างเคียงระยะยาว

หลายคนมักสงสัยว่ากินยานอนหลับทุกวันเป็นอะไรไหม กินยานอนหลับทุกวัน ผลข้างเคียงจะเป็นอย่างไร โดยปกติแล้วหากผู้ป่วยใช้ยาช่วยนอนหลับติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงยา (dependence) และการดื้อยา (tolerance) ได้ 

  • ภาวะพึ่งพิงยา (dependence) คือ ร่างกายจะสามารถทำงานได้ตามปกติถ้าผู้ป่วยยังใช้ยาอยู่ และหากมีการหยุดยานอนหลับผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่ามีอาการของโรคอยู่ เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด เป็นต้น
  • การดื้อยา (Tolerance to sedation) หมายถึง หากผู้ป่วยใช้ยาเป็นเวลานานจะเริ่มรู้สึกว่ายาขนาดเท่าเดิมไม่สามารถช่วยให้หลับได้จึงมักจะเพิ่มขนาดยาเอง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความจำ เสี่ยงต่อการเกิดอาการสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ 

 

กินยานอนหลับแต่ไม่หลับหรือกินยานอนหลับทุกวันกังวลถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ปรึกษาจิตแพทย์บนแอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

ข้อควรทราบเกี่ยวกับยานอนหลับ

sleeping-pills-side-effects
  1. ยานอนหลับมีหลายกลุ่ม การเลือกใช้ยาควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเลือกตามความเหมาะสมกับรูปแบบปัญหาการนอนหลับของแต่ละบุคคล 
  2. การใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด 
  3. ไม่แนะนำให้ซื้อยานอนหลับทานเอง ไม่เพิ่มหรือลดขนาด และหยุดยาด้วยตัวเอง 
  4. หลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรกล การขับรถ หรืองานที่ต้องใช้สมาธิสูง 
  5.  ไม่ควรใช้ยานอนหลับร่วมกับแอลกอฮอล์และยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เนื่องจากจะเสริมฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายหรือเสียชีวิตได้

วิธีเลิกยานอนหลับอย่างปลอดภัย ทำอย่างไร?

สำหรับวิธีเลิกใช้ยานอนหลับนั้นผู้ป่วยไม่ควรหยุดยานอนหลับทันที เพราะอาจทำให้เกิดอาการขาดยา (Withdrawal) ได้ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ กระวน กระวาย สั่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ เหงื่อออก คลื่นไส้ สับสน ชัก 


การพิจารณาหยุดยานอนหลับนั้น แพทย์จะพิจารณาปรับลดขนาดยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม เช่น ปรับพฤติกรรมการนอน โดยการเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับ เช่น นอนในห้องที่ไม่มีแสงหรือเสียงรบกวน ไม่เล่นโทรศัพท์ก่อนเข้านอนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เป็นต้น และแนะนำให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้นได้


Tips! รวม 8 เทคนิคเพื่อเอาชนะอาการนอนไม่หลับให้อยู่หมัด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยานอนหลับ

1. ยานอนหลับอันตรายไหม?

การทานยานอนหลับภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่อันตราย แต่หากผู้ป่วยซื้อยานอนหลับทานเอง อาจเกิดอันตรายได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยานอนหลับ

2. อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อหยุดยานอนหลับ?

หากหยุดยานอนหลับทันทีอาจทำให้เกิดอาการขาดยาได้ อาการที่สังเกตได้เช่น กระวนกระวาย สั่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ เหงื่อออก คลื่นไส้ สับสน ชัก

3. หากต้องการใช้ยานอนหลับ สามารถหาซื้อมาใช้เองได้หรือไม่?

ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยซื้อยานอนหลับทานเอง เนื่องจากการเลือกใช้ยานอนหลับต้องเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและรูปแบบปัญหาการนอนหลับ โรคประจำตัวผู้ป่วย และปัจจัยอื่น ๆ ดังนั้นแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ยานอนหลับทุกครั้ง

สรุป ยานอนหลับควรใช้อย่างระมัดระวังภายใต้การดูแลจากแพทย์

ยานอนหลับเป็นเพียงตัวช่วยระยะสั้นเท่านั้น การแก้ไขปัญหานอนไม่หลับที่ดีคือการรักษาสุขนิสัยในการนอน ฝึกการนอนหลับอย่างธรรมชาติ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยานอนหลับควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิกและเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ.วุฒิรัต ธรรมวุฒิ

เภสัชกร

  1. Treatment | NHLBI, NIH. (2022, March 24). NHLBI, NIH. https://www.nhlbi.nih.gov/health/insomnia/treatment

  2. Benzodiazepine: Adverse Drug Reaction. (2023). IBM Micromedex (College of DuPage Library ed.). Retrieved December 6, 2023.

  3. Website, N. (2023, March 15). Melatonin. nhs.uk. https://www.nhs.uk/medicines/melatonin/

  4. Poza JJ, Pujol M, Ortega-Albás JJ, Romero O; Insomnia Study Group of the Spanish Sleep Society (SES). Melatonin in sleep disorders. Neurologia (Engl Ed). 2022 Sep;37(7):575-585. doi: 10.1016/j.nrleng.2018.08.004. Epub 2020 Sep 18. PMID: 36064286.
บทความที่เกี่ยวข้อง

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติเป็นสภาวะที่เกิดจากการมีความไม่สมดุลกันของไขมันชนิดต่าง ๆ ภายในกระแสเลื

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง จู่ๆ ก็จามอย่างหนัก มีน้ำมูกไหล คันตา คันจมูก จนหน้าบวมไปหมด บางทีก็มีผื่นคันขึ้นที่ร่างกายแบบ