เด็กเล็กยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่นัก จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ไวรัส RSV คือหนึ่งในไวรัสที่เป็นอันตรายต่อเด็กเล็กอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ และเสียชีวิตได้ในที่สุด มาทำค
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สารอาหารทรงคุณค่าหยดแรกจากแม่สู่ลูก
ทำไมต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เราคงเคยได้ยินกันว่า “นมแม่” ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก องค์กรอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children’s Fund: UNICEF) ได้ออกมาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และควรได้รับต่อเนื่องไปจนอายุครบ 2 ปีควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามวัยสาเหตุที่ทั้ง 2 องค์กรออกมาสนับสนุนเช่นนี้ก็เพราะประโยชน์ของนมแม่ที่มีอย่างมากมาย สารอาหารในนมแม่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการเหมาะสมกับลูกน้อย นมแม่เต็มไปด้วยภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้เด็กแรกเกิดที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพียงพอนั้นเติบโตได้อย่างแข็งแรง นอกจากนี้วิธีการให้นมของคุณแม่ยังช่วยสร้างความอบอุ่น ความรัก และช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกถึงความอบอุ่นและความปลอดภัยอีกด้วย
ระยะของการสร้างน้ำนมแม่ แต่ละระยะมีสารอาหารอะไรบ้าง
ประโยชน์นมแม่นั้นมีมากมายตามระยะการสร้างน้ำนมแม่ของร่างกายซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
น้ำนมระยะที่ 1 หรือน้ำนมเหลือง (Colostrum)
น้ำนมแม่ในระยะแรกนี้จะอยู่ในช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอด เรียกว่าระยะน้ำนมเหลือง (Colostrum) กล่าวคือจะพบว่ามีนมแม่สีเหลืองซึ่งหัวน้ำนมนี้อุดมไปด้วยแคโรทีนสูง มีประโยชน์อย่างมาก นมแม่ในช่วงนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ รวมถึงสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารกแรกเกิดและยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยแรกเกิดอีกด้วย
น้ำนมระยะที่ 2 หรือน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional Milk)
นมแม่ในระยะที่ 2 หรือน้ำนมปรับเปลี่ยนนี้จะเกิดขึ้นในช่วงหลังน้ำนมระยะที่ 1 ประมาณวันที่ 5 ถึงช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด จะพบว่าสีน้ำนมแม่ในช่วงนี้มีสีขาวขุ่น ซึ่งนมแม่ในช่วงนี้จะอุดมไปด้วยไขมันและน้ำตาล เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของลูกน้อยในช่วงเวลานั้น
น้ำนมระยะที่ 3 หรือน้ำนมสมบูรณ์ (Mature Milk)
นมแม่ในระยะสุดท้ายหรือระยะที่ 3 เรียกว่าน้ำนมสมบูรณ์ น้ำนมแม่ในช่วงนี้จะพบได้ในช่วงหลังคลอด 2 สัปดาห์เป็นต้นไป นมแม่ในช่วงนี้จะอุดมไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายลูกน้อย เช่น DHA (Docosahexaenoic Acid) และ AA (Arachidonic Acid) รวมถึงยังมีคาร์โบไฮเดรต และจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามิน A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K เหล็ก แคลเซียม และไอโอดีน เป็นต้น
ประโยชน์ของนมแม่ต่อลูกน้อย
ประโยชน์ของนมแม่นั้นมีมากมาย สารอาหารในนมแม่นั้นช่วยให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและยังทำให้รู้สึกอบอุ่นจากการได้รับนมแม่ เมื่อพูดถึงประโยชน์ของนมแม่แล้วนั้นนมแม่สามารถช่วยให้ลูกมีภูมิคุ้มกัน ช่วยให้การพัฒนาของระบบประสาทและสมองของลูกน้อยเป็นไปได้อย่างดี นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคทางระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด ปอดบวม และโรค RSV และยังมีแคลเซียมทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง และยังลดโอกาสการเกิดท้องเสีย ลำไส้อักเสบ ลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และโรคความดันในอนาคต อีกทั้งยังช่วยให้ลูกน้อยขับถ่ายได้ดีอีกด้วย
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีต่อตัวคุณแม่อย่างไร
นอกจากประโยชน์ของนมแม่ต่อตัวลูกน้อยแล้วนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังส่งผลดีต่อตัวคุณแม่เองอีกด้วย เนื่องจากเมื่อคุณแม่ให้นมลูกน้อยนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่หลังคลอดฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติเร็วขึ้น และยังช่วยดึงไขมันสะสมจากร่างกายคุณแม่ออกมาใช้ซึ่งจะช่วยในเรื่องรูปร่างของคุณแม่นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีข้อมูลระบุว่าการให้นมแม่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวานได้อีกด้วย
สำหรับในด้านอารมณ์ของคุณแม่ผลจากการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) จากการให้นมแม่แก่ลูกน้อยนั้นจะทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลดการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และช่วยสร้างความรักความผูกพันธ์กับลูกอีกด้วย
วิธีดูแลตนเองเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เพื่อให้มีนมแม่เพียงพอในการเลี้ยงดูลูกน้อยและช่วยบำรุงน้ำนมแม่ เพิ่มน้ำนมแม่ คุณแม่ควรดูแลตัวเองดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึกหรืออดนอน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ในระยะให้นมควรดื่มน้ำมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน โดยแบ่งดื่มก่อนให้นมและหลังให้นม
- พยายามไม่เครียด ไม่วิตกกังวล คุณแม่หลายคนมักกังวลว่าน้ำนมมาน้อย น้ำนมไม่ไหลอาจไม่เพียงพอต่อการให้นมลูกน้อย แต่เมื่อยิ่งเครียดจะยิ่งทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้น้อยลงไปด้วย
ปรึกษาปัญหานมแม่กับคุณหมอผ่านแอป BeDee ได้ทุกวัน
การเก็บรักษานมแม่ ทำอย่างไรได้บ้าง
เพื่อให้การให้นมแม่แก่ลูกน้อยเกิดประโยชน์สูงสุด คุณแม่จำเป็นต้องเข้าใจว่านมแม่เก็บอย่างไรจึงจะดีและรักษาคุณภาพนมแม่ไว้ให้ได้มากที่สุดด้วย สำหรับวิธีเก็บรักษานมแม่นั้น เมื่อปั๊มนมเสร็จแล้วควรเก็บนมใส่ในถุงเก็บนม เขียนวันที่และเวลาที่บรรจุและแช่เย็นในตู้เย็นทันที ควรแช่ช่องแช่แข็งเพื่อรักษาคุณภาพนมแม่และยืดอายุการเก็บรักษาให้นานที่สุด การเก็บน้ำนมแม่ในช่องแช่แข็งสามารถเก็บได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่อยู่นอกบ้านและไม่สะดวกจัดเก็บน้ำนมในตู้เย็นสามารถเก็บในกระติกน้ำแข็งได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามควรให้ลูกน้อยดื่มนมแม่โดยเร็วที่สุด ไม่ควรแช่เย็นเก็บไว้นานเพราะอาจทำให้นมแม่เสื่อมคุณค่าทางโภชนาการ และยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับลักษณะสีน้ำนมแม่
น้ำนมแม่ไม่ได้มีสีขาวเพียงอย่างเดียวอย่างที่หลายคนคิด เราอาจพบว่าน้ำนมแม่มีสีต่าง ๆ ดังนี้
- นมแม่สีเหลือง หรือ หัวน้ำนม คือนมแม่ในช่วงหลังคลอดสัปดาห์แรก หัวน้ำนมนี้อุดมไปด้วยแคโรทีนสูง มีประโยชน์อย่างมาก นมแม่ในช่วงนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ รวมถึงสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารกแรกเกิดและยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยแรกเกิดอีกด้วย
- น้ำนมใส หรือ น้ำนมส่วนหน้า มีสารอาหารที่ดีต่อสมองของลูกน้อย ช่วยในเรื่องการขับถ่าย
- น้ำนมสีขาวเข้ม หรือน้ำนมส่วนหลัง มีโปรตีนและไขมันในปริมาณสูง ช่วยให้พลังงานและช่วยให้ร่างกายลูกน้อยเจริญเติบโต
- น้ำนมสีแดง อาจเกิดจากการที่คุณแม่รับประทานอาหารสีแดงมาก หรือมีเลือดปนมาในน้ำนมแม่จากการดูดกัดของทารกหรือจากภาวะหัวนมแตกได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำนมแม่
1. กรณีใดที่ควรหลีกเลี่ยงการให้นมแม่?
สำหรับกรณีที่คุณแม่ไม่ควรให้นมลูก ได้แก่
- ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIV
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งและได้รับการทำเคมีบำบัดหรือได้รับการฉายรังสีบริเวณเต้านม
- ผู้ป่วยวัณโรค
- ผู้ที่เสพยาเสพติด หรือดื่มสุรา
2. นมแม่ควรให้นานแค่ไหน?
องค์กรอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children’s Fund: UNICEF) ได้ออกมาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และควรได้รับต่อเนื่องไปจนอายุครบ 2 ปีควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามวัยสำหรับเด็กทารก
3. จะทราบได้อย่างไรว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอแล้ว?
สังเกตได้จากน้ำหนักของลูกว่าเป็นไปตามเกณฑ์แล้ว หรือลูกปัสสาวะชุ่มผ้าอ้อม หรือปัสสาวะวันละ 6-8 ครั้ง ลูกน้อยอารมณ์ดี แจ่มใส นอนหลับได้ หรือสังเกตจากการที่ลูกดูดนมช้าลง
4. วิธีเพิ่มน้ำนมแม่ ทำได้อย่างไรบ้าง?
สำหรับคุณแม่ที่น้ำนนมน้อยอาจกังวลว่าเราจะเพิ่มน้ำนมได้อย่างไรบ้าง เคล็ดลับในการเพิ่มน้ำนมก็คือเน้นรับประทานสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น หัวปลี ใบกระเพรา ใบโหระพา เมล็ดขนุนต้ม พริกไทย ขิง ฟักทอง มะรุม ใบแมงลัก กุยช่าย ตำลึง มะละกอ ฟักทอง พุทรา นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือคุณควรทำจิตใจให้สดใส หลีกเลี่ยงความเครียด ความกังวลเพราะจะทำให้น้ำนมน้อยลง ควรพักผ่อนและดื่มมน้ำเปล่าให้เพียงพอ ในระยะให้นมควรดื่มน้ำมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน โดยแบ่งดื่มก่อนให้นมและหลังให้นม
ปรึกษาปัญหานมแม่กับพยาบาลผ่านแอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย
มีปัญหาเรื่องนมแม่รีบปรึกษาคุณหมอ
มีปัญหาหรือข้อกังวลเรื่องนมแม่ หรือปัญหาคุณแม่มือใหม่ ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พว. ปรียาวดี ศิริณัฏฐกุล
พยาบาลวิชาชีพ
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Breastfeeding: AAP policy explained. (n.d.). HealthyChildren.org. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/breastfeeding/Pages/Where-We-Stand-Breastfeeding.aspx
Website, N. (2023a, March 9). Benefits of breastfeeding. nhs.uk. https://www.nhs.uk/conditions/baby/breastfeeding-and-bottle-feeding/breastfeeding/benefits/