กรด AHA

เมื่อพูดถึง Active Ingredient หรือส่วนผสมออกฤทธิ์หลักในกลุ่มครีมบำรุงผิวแล้ว “AHA” น่าจะเป็นหนึ่งในส่วนผสมหลักที่อยู่ในสกินแคร์ ครีมบำรุงผิวที่มักจะได้ยินในช่วงนี้ บางคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่า AHA เป็นกรดที่ฟังดูแล้วน่าจะรุนแรง

สารบัญบทความ

AHA คืออะไร

AHA คืออะไร

AHA ย่อมาจาก Alpha Hydroxy Acid หลายน่าจะเคยใช้กรด AHA ทาหน้าหรือเคยได้ยินชื่อ AHA ผ่าน ๆ กันมาบ้างแล้ว จริง ๆ แล้ว AHA คือ กรดผลไม้ที่ได้จากธรรมชาติ AHA มักนิยมใช้ในวงการความงามและสกินแคร์เนื่องจาก AHA ผลัดเซลล์ผิวได้อย่างอ่อนโยน เหมาะสำหรับผู้ที่มีสิว, ฝ้า กระ, สิวอุดตัน ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส สังเกตได้ว่าหลาย ๆ แบรนด์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวปัจจุบันนี้มักจะหยิบ AHA มาเป็นส่วนผสม Active หลัก อย่างไรก็ตาม AHA อาจไม่เหมาะกับทุกคนเสมอไป ควรตรวจสอบสภาพผิวของตนเองก่อนใช้ AHA 

 

ลองดู! 10 วิธีสร้างผิวขาวใสเปลี่ยนผิวหมองคล้ำให้กลับมาดูมีสุขภาพดี

AHA แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

กรด AHA ที่เราใช้ทาหน้า บำรุงผิวพรรณกันนั้นจริง ๆ แล้วแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่ง AHA แต่ละประเภทให้ประโยชน์หรือมีแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน แล้วเราควรเลือกใช้ AHA ประเภทไหน ? AHA แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1. Citric Acid (กรดซิตริก)

กรด AHA ในกลุ่ม Citric Acid มักพบในกลุ่มผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด มะขาม ส้มโอ กรด AHA ช่วยให้ผิวเรียบเนียน กระจ่างใสมากขึ้น

2. Lactic Acid (กรดแลคติก)

AHA ในกลุ่ม Lactic Acid เกิดจากกระบวนการหมักของแบคทีเรีย กรด AHA ที่อยู่ในกลุ่ม Lactic Acid มักจะพบอยู่ในผลิตภัณฑ์จำพวกนมเปรี้ยว โยเกิร์ต มีคุณสมบัติช่วยในการผลัดเซลล์ผิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียน ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว และช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นอีกด้วย

3. Glycolic Acid (กรดไกลโคลิก)

กรด AHA ทาหน้าอีกตัวที่มาแรงในระยะนี้คือ Glycolic Acid เนื่องจากกรด AHA ประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีอนุภาคขนาดเล็กทำให้ซึมลงสู่ผิวได้ดี ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ และช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ทำให้เกิดผิวหมองคล้ำ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งจะช่วยให้ผิวกระชับ เต่งตึง และยืดหยุ่นยิ่งขึ้น

4. Tartaric Acid (กรดทาร์ทาริก)

Tartaric Acid เป็น AHA อีกประเภทหนึ่งมักพบในองุ่น กล้วย มะขาม และส้ม กรด AHA Tartaric Acid ช่วยในการดูดซับรังสียูวีไม่ให้ทำลายชั้นผิว 

5. Malic Acid (กรดมาลิก)

AHA ประเภท Malic Acid มีคุณสมบัติเสริมการทำงานกับ AHA ประเภทอื่น ๆ ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว มักพบกรด AHA ประเภทนี้ในแอปเปิล

 

ปรึกษาการใช้กรด AHA กับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

คุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์ของ AHA

การออกฤทธิ์ของ AHA

AHA นั้นเป็นกรดผลไม้ที่ละลายได้ดีในน้ำ AHA มีหน้าที่ผลัดเซลล์ผิว ขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพแล้วให้หลุดลอกออกไป กระตุ้นให้ผิวหนังสร้างคอลลาเจน เผยผิวใหม่ที่เรียบเนียน กระจ่างใส จุดด่างดำดูจางลง อย่างไรก็ตามกรด AHA นั้นแม้จะเป็นกรดผลไม้แต่ก็ยังถือว่ามีความเป็นกรดอ่อน ๆ สำหรับการใช้ AHA นั้นไม่ควรใช้ AHA ที่มีความเข้มข้นสูงกว่า 10% ในกรณีที่ต้องการใช้ AHA ที่มีความเข้มข้นสูงกว่านั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้

AHA มีประโยชน์ต่อผิวอย่างไร

ข้อดีของ AHA

กรด AHA เป็นส่วนผสมสำคัญที่มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์กับผิวอย่างชัดเจนอีกตัวหนึ่ง นอกจากประโยชน์ในด้านการผลัดเซลล์ผิวอย่างที่เรารู้จักกันดีแล้วนั้น กรด AHA ยังให้ประโยชน์กับผิวของเราอีกหลายข้อดังนี้

ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่า

โดยปกติแล้วผิวหนังของเราจะวงจรการผลัดเซลล์ผิวเองอยู่แล้ว แต่เมื่ออายุมากขึ้นวงจรการผลัดเซลล์ผิวก็จะช้าลง เราจึงจำเป็นต้องมองหาตัวช่วยในการเร่งการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้ออกไปซึ่ง AHA ผลัดเซลล์ผิวกาย และผิวหน้าของเราได้เป็นอย่างดี ช่วยกระตุ้นการสร้างผิวใหม่ให้เกิดขึ้น

ลดการเกิดริ้วรอย

หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่า AHA มีส่วนช่วยในเรื่องริ้วรอยได้อย่างไร จริง ๆ แล้วนอกจาก AHA จะช่วยผลัดเซลล์ผิวแล้วยังเข้าไปกระตุ้นให้ผิวหนังเกิดการสร้างคอลลาเจนมากขึ้น ทำให้ผิวนุ่มฟู เต่งตึง กระชับ ริ้วรอยดูตื้นขึ้นและทำให้ดูผิวอ่อนเยาว์นั่นเอง

ลดสิวอุดตัน ป้องกันการเกิดสิว

ด้วยประโยชน์ในด้านการผลัดเซลล์ผิวของ AHA นี้เองที่ช่วยให้สิ่งอุดตัน สิ่งสกปรก ไขมันตามรูขุมขนหรือสิวอุดตันผลัดออกไปจากชั้นผิวหนังของเรา การใช้ AHA จึงช่วยลดสิวอุดตันได้ด้วย

ลดความมัน กระชับรูขุมขน

เมื่อ AHA ช่วยผลัดเซลล์ผิว กำจัดสิ่งสกปรก ไขมัน และสิวอุดตันตามรูขุมขนออกไปแล้ว ผลก็คือ AHA จะช่วยให้รูขุมขนสะอาด ลดความมัน รูขุมขนกระชับ ผิวหน้าดูเรียบเนียนและกระจ่างใสมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ผิวดูมีสุขภาพดี

ลดจุดด่างดำ รอยสิวดูจางลง

เมื่อ AHA ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าออกไปแล้ว จะทำให้ผิวหนังผลิตเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งตรงนี้เองทำให้ AHA ช่วยผลัดจุดด่างดำออกไป รอยดำ รอยแดงดูจางลง ช่วยให้ผิวหน้ากระจ่างใสมากขึ้น

เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

เนื่องจากกรด AHA จะช่วยเข้าไปปรับสมดุลหรือค่า pH ให้กับผิวของเรา ทำให้ผิวเกิดความชุ่มชื้นมากขึ้น

AHA เหมาะกับใคร

ใครควรใช้ AHA

ด้วยคุณสมบัติของ AHA ที่มีความเป็นกรดอ่อน ๆ นั้นจึงอาจทำให้การใช้ AHA นั้นไม่ได้เหมาะกับทุกสภาพผิว ควรพิจารณาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ AHA ในผู้ที่มีปัญหาผิวดังนี้

  • มีสิว สิวอุดตัน มีผิวมัน 
  • ผิวเริ่มมีริ้วรอย อายุมากเพิ่มขึ้น 
  • สีผิวไม่สม่ำเสมอ ผิวหมองคล้ำ ผิวมีรอยดำ รอยแดงจากสิว 
  • มีฝ้า กระ
  • ผิวแห้ง ขาดความชุ่มชิ้น

 

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง หรือเพิ่งผ่านการทำเลเซอร์หรือหัตถการอื่น ๆ มา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กรด AHA หรือควรเริ่มใช้จากปริมาณน้อย ๆ หรือ 1-2 วัน / สัปดาห์

AHA VS BHA แตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างของ AHA vs BHA

นอกจากกรด AHA แล้วยังมีกรดในกลุ่มอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันด้วย ส่วนผสมดังอีกตัวที่หลายคนอาจสับสนถึงความแตกต่างก็คือ BHA แล้ว AHA กับ BHA แตกต่างกันอย่างไร ?

 

AHA คือ กรดผลไม้ที่ได้จากธรรมชาติ ละลายได้ในน้ำ โดยทั่วไปแล้ว AHA ผลัดเซลล์ผิวได้อย่างอ่อนโยน ช่วยกระตุ้นให้ผิวสร้างเซลล์ผิวขึ้นมาใหม่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีสิว ฝ้า กระ สิวอุดตัน AHA ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส ลดเรือนริ้วรอย ปรับสมดุลให้ผิวและยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น AHA ยังสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เช่น Citric Acid (กรดซิตริก), Lactic Acid (กรดแลคติก) หรือ Glycolic Acid (กรดไกลโคลิก) เป็นต้น

 

ส่วน “Beta Hydroxy Acid” หรือ “BHA” นั้น คือกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งกรด BHA ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันได้แก่กรด Salicylic Acid BHA นั้นสามารถละลายได้ในไขมันทำให้ซึมสู่ผิวหนังและต่อมไขมันได้ดีและลึกกว่า AHA ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้ BHA เหมาะกับผู้ที่มีผิวมัน มีปัญหาสิวนั่นเอง

วิธีการใช้ AHA ที่ถูกต้อง

เนื่องจากกรด AHA นั้นแม้จะเป็นกรดผลไม้แต่ก็ยังถือว่ามีความเป็นกรดอ่อน ๆ สำหรับการใช้ AHA นั้นไม่ควรใช้ AHA ที่มีความเข้มข้นสูงกว่า 10% ในกรณีที่ต้องการใช้ AHA ที่มีความเข้มข้นสูงกว่านั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการเริ่ม ใช้ AHA นอกจากนี้ยังควรปฎิบัติดังนี้

  • ผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบางควรเริ่มใช้ AHA ที่มีความเข้มข้นต่ำ
  • เริ่มต้นใช้ AHA ในปริมาณและความถี่ที่น้อยก่อน
  • สามารถทดสอบการระคายเคืองโดยการทา AHA ที่บริเวณท้องแขน 
  • เริ่มใช้ AHA 1-2 วัน / สัปดาห์ เมื่อมั่นใจแล้วว่าไม่แพ้หรือเกิดการระคายเคืองจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณและความถี่
  • ควรใช้ AHA ในเวลากลางคืนเนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสง
  • หากเกิดอาการระคายเคือง ผิวแดง แสบผิว ผิวเป็นขุย ควรหยุดใช้ AHA แล้วปรึกษาแพทย์

หลังใช้ AHA ควรดูแลผิวอย่างไร

  • ทาครีมกันแดด ควรเลือกครีมกันแดด ที่มีประสิทธิภาพป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB มีค่า Sun protection factor (SPF) มากกว่า 30 ขึ้นไป ซึ่งหมายความถึง ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีได้มากถึง 30 เท่าขึ้นไป 

 

อีกทั้งควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า Protection grade of UVA (PA) ที่เหมาะสมขึ้นกับสถานที่และกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน โดยค่า PA สูงสุดคือ 4 ระดับ ซึ่ง PA++++ คือมีค่าประสิทธิภาพการป้องกันรังสียูวีเอสูงที่สุด นอกจากนี้ยังควรเลือกครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการกันน้ำและกันเหงื่อด้วย เพื่อให้อยู่กับผิวหนังได้นานยิ่งขึ้น

 

 

BeDee Tips: อย่าลืมทาครีมกันแดดซ้ำระหว่างวันและใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ร่ม หมวก หรือเสื้อผ้ากัน UV ร่วมด้วย จะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้ดียิ่งขึ้น

ทาครีมกันแดด provamed หลังใช้ AHA
ทาครีมกันแดด eucerin หลังใช้ AHA
  • ทามอยส์เจอไรเซอร์ (Moisturizer) หรือครีมบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นทั้งเช้า และเย็น อาจเลือกสูตรที่ให้ความชุ่มชื้นสูงพร้อมปลอบประโลมผิวไปพร้อมกันก็จะช่วยเสริมสร้างชั้นผิวพร้อมลดการระคายเคืองได้ด้วย ความชุ่มชื้น ไม่ควรปล่อยให้ผิวแห้งเพราะอาจทำให้ผิวแห้งตึงและระคายเคืองมากกว่าเดิมได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในที่อากาศแห้งหรือเย็นเป็นเวลานานๆ เช่น การอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา ดื่มน้ำน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ อายุเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นสาเหตุหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดริ้วรอยได้ง่าย

ผลข้างเคียงที่อาจพบเมื่อใช้ AHA 

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ AHA มีดังนี้ 

  • แสบหน้า รู้สึกยุบยิบที่หน้าหากใช้ในปริมาณความเข้มข้นที่สูงเกินไป
  • หน้าแดง ระคายเคือง
  • หน้าลอกเป็นขุย อาจเกิดขึ้นได้กรณีผู้ที่ผิวบอบบาง แพ้ง่าย
  • ผิวแห้ง 
  • ผิวหนังอาจไวต่อแสง 

 

อย่างไรก็ตามหากเกิดอาการดังกล่าวไม่มากสามารถหยุดใช้และทามอยส์เจอไรเซอร์ที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นและช่วยในการปลอบประโลมได้ แต่หากมีอาการรุนแรงควรหยุดใช้ AHA และปรึกษาแพทย์ทันที

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ AHA

1. AHA ใช้ได้กับทุกสภาพผิวไหม?

จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าจริง ๆ แล้ว AHA สามารถใช้ได้กับทุกสภาพผิวทั้งผู้ที่มีผิวมัน ผิวแห้ง ผิวมีสิว แต่อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย หรือเพิ่งผ่านการทำเลเซอร์หรือหัตถการอื่น ๆ มา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กรด AHA หรือควรเริ่มใช้จากปริมาณน้อย ๆ หรือ 1-2 วัน / สัปดาห์ แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มความถี่ขึ้น

2. AHA ใช้ทุกวันได้ไหม?

ถึงแม้ว่ากรด AHA จะสามารถใช้ได้กับทุกสภาพผิวแต่ก็ไม่ควรใช้ทุกวัน เนื่องจากการใช้กรด AHA ผลัดเซลล์ผิวทุกวันอาจทำให้ผิวหน้าระคายเคืองได้

3. AHA ใช้กี่ครั้งถึงเห็นผล?

สำหรับการใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของกรด AHA นั้น แนะนำให้ใช้1-2 วัน / สัปดาห์ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของผิว

กรด AHA ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์

หากใช้ AHA แล้วเกิดความผิดปกติ ผิวแดง แสบ คัน ระคายเคือง ลอกเป็นขุย ไม่แน่ใจว่าผิวของเราเหมาะกับการใช้ AHA หรือไม่ หรืออยากขอคำปรึกษาในการดูแลผิวและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ รีบปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษา เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ.ประกายเพชร พิมพ์สกุล

เภสัชกร

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Starkman, E. (2021, April 29). AHA and BHA for Skin: What to Know. WebMD. https://www.webmd.com/beauty/aha-bha-skin-exfoliate

 

Sparks, D. (2019, July 23). Can creams for younger looking skin reduce wrinkles or reverse skin damage? Mayo Clinic News Network. https://newsnetwork.mayoclinic.org/discussion/can-creams-for-younger-looking-skin-reduce-wrinkles-or-reverse-skin-damage/

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ผื่นผ้าอ้อม” หรืออาการ “แพ้แพมเพิส” เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดหรือแม้แต่กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องสวมใส่แพมเพิสแรกเกิดหรือสวมใส่แพมเพิสผู้สูงอายุเพื่อรองรับอาการปัสสาวะเล็ดเป็นเวลานาน อาการแพ้แพมเพิสสร้างความรำคาญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็น

Key Takeaways สิวผดจัดเป็นผื่นประเภทหนึ่งมีลักษณะเป็นผดที่ใบหน้าหรือมีผื่นเม็ดเล็ก ๆ ขึ้นเป็นจำนวนมากบนใบหน้า สิวผดมักไม่มีหนอง เมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกสากเหมือนเม็ดทราย สิวผดมักเกิดจากการสัมผัสกับอากาศร้อนชื้นหรือเกิดจากการแพ้ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เมื่อมีส