นักกำหนดอาหาร

การดูแลสุขภาพมีปัจจัยที่สำคัญอย่างมากข้อหนึ่งเลยก็คือ “อาหาร” เพราะการรับประทานอาหารย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราโดยตรง ดังนั้นนักกําหนดอาหาร นักโภชนาการจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในทุกวันนี้ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่คนเรามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป เน้นสะดวก รวดเร็ว ทานง่าย จึงทำให้ละเลยการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อร่างกายไป แล้วนักกำหนดอาหารสำคัญอย่างไร สามารถช่วยอะไรเราได้บ้างโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ?

สารบัญบทความ

ทำความรู้จักกับ นักกำหนดอาหาร 

นักกําหนดอาหาร (dietitian) คือ ผู้ที่ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้านโภชนาการ ถือเป็นหนึ่งในสหสาขาวิชาชีพหรือเรียกได้ว่าเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของคุณหมอ นักกำหนดอาหารสามารถวิเคราะห์ปัญหาด้านโภชนาการและวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพได้ โดยนักกำหนดอาหารใช้การกำหนดอาหารร่วมกับการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารประกอบกับการรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและให้ประโยชน์กับร่างกายแต่ละบุคคลมากที่สุด นักกำหนดอาหารต้องเป็นผู้ที่มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารจึงจะสามารถให้ความรู้ผู้ป่วยในเรื่องการรับประทานอาหารกับโรคต่าง ๆ ในเชิงการแพทย์ได้

 

 

ปรึกษาเรื่องการทานอาหารและวิธีลดน้ำหนัก กับนักกำหนดอาหารที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง 

นักกำหนดอาหารสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของนักกำหนดอาหาร

นอกจากการปฏิบัติตัวและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้วนักกำหนดอาหารยังเป็นหนึ่งในบทบาทที่สำคัญโดยเป็นผู้ช่วยทางการแพทย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยและแพทย์ เนื่องจากนักกำหนดอาหารจะช่วยประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์หาสาเหตุ วางแผนการรับประทานอาหาร และให้ข้อมูลในด้านอาหารหรือข้อมูลทางโภชนาการของอาหารที่เรารับประทานในแต่ละมื้อ เช่น ปริมาณพลังงาน โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โซเดียม น้ำตาล เป็นต้น ซึ่งนักกำหนดอาหารจะสามารถแนะนำอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยแต่ละโรค รวมถึงผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือแม้แต่ในผู้ที่ยังไม่ป่วยแต่ต้องการรักษาสุขภาพได้เป็นอย่างดี

หน้าที่ของนักกำหนดอาหาร

นักกำหนดอาหารจะช่วยเหลือเราได้อย่างไร ? โดยทั่วไปแล้วนักกำหนดอาหารมีหน้าที่ดังนี้

  • ประเมินภาวะโภชนาการ
  • วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเพื่อประเมินว่าร่างกายของผู้ป่วยควรได้รับและไม่ควรได้รับอาหารประเภทใด
  • คำนวณปริมาณสารอาหารในแต่ละมื้อหรือแต่ละวันที่ผู้ป่วยควรได้รับ
  • วางแผนและกำหนดมื้ออาหารให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย

ความแตกต่างระหว่าง นักกำหนดอาหาร VS นักโภชนาการ

 

หลายคนอาจเคยได้ยินทั้งชื่ออาชีพนักโภชนาการ กับ นักกําหนดอาหาร จริง ๆ แล้วทั้ง 2 อาชีพนี้แตกต่างกันหรือไม่ ?

 

นักโภชนาการ Nutritionist คือ ผู้ที่ศึกษาด้านโภชนาการโดยตรงในระดับมหาวิทยาลัย สามารถให้ความรู้ทั่วไปในด้านอาหารและโภชนาการได้

 

นักกําหนดอาหาร Dietitian คือ ผู้ที่ศึกษาด้านโภชนาการโดยตรงเช่นเดียวกับนักโภชนาการ แต่สิ่งที่แตกต่างจากนักโภชนาการคือนักกำหนดอาหารสามารถวางแผนด้านโภชนบำบัด โดยต้องผ่านการอบรม สอบ และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารจึงจะสามารถให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ประเมินภาวะโภชนาการ และกำหนดปริมาณวิธีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะโรคต่าง ๆ ของผู้ป่วยแต่ละบุคคลได้

ใครบ้างที่ต้องพบนักกำหนดอาหาร

ใครควรปรึกษานักกำหนดอาหาร

เมื่อมีปัญหาสุขภาพอย่าลืมปรึกษานักกำหนดอาหารควบคู่กับการพบแพทย์ไปด้วย ผู้ที่ควรปรึกษานักกำหนดอาหาร ได้แก่ 

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ที่ต้องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
  • ผู้ที่ข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร เช่น มังสวิรัต คีโต Plant Base Food
  • ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  • ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ
  • ผู้ที่ปัญหาโรคอ้วน น้ำหนักเกิน หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
  • ผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารระดับรุนแรง
  • ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา อาทิ ผ่าตัด ฉายรังสี และเคมีบำบัด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับนักกำหนดอาหาร

1. นักกำหนดอาหาร ทำงานที่ไหน?

โดยทั่วไปแล้วนักกำหนดอาหารซึ่งถือเป็นบุคลากรทางการแพทย์อีกตำแหน่งหนึ่งจะให้คำปรึกษาและกำหนดอาหารของผู้ป่วยในโรงพยาบาล คลินิก หรือแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อคอยให้คำแนะนำผู้ป่วยในด้านอาหาร

2. นักกำหนดอาหารต้องเรียนจบอะไร?

นักกำหนดอาหารจะศึกษาด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร และจะต้องผ่านการอบรม สอบ และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารจึงจะสามารถให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ประเมินภาวะโภชนาการ และกำหนดปริมาณพลังงานและสารอาหาร รวมถึงวิธีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะโรคของผู้ป่วยแต่ละบุคคลได้

3. ค่า BMI คำนวณอย่างไร?

จะทราบได้อย่างไรว่าตนเองกำลังอยู่ในภาวะอ้วน? วิธีสำหรับคัดกรองเบื้องต้นว่าร่างกายเรากำลังอยู่ในภาวะอ้วนหรือไม่คือการวัดค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI (Body Mass Index) และการวัดรอบเอว ซึ่งจะมีวิธีคำนวณดังนี้

 

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก(กิโลกรัม) ส่วนสูง (เมตร)^2

สามารถเปรียบเทียบผลได้จากตารางเกณฑ์ดัชนีมวลกายสำหรับชาวเอเชีย ดังนี้

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) (kg/m^2)
ผลลัพธ์
<18.5
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
18.6-22.9
น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
23.0-24.9
น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์
25.0-29.9
โรคอ้วน
>30.0
โรคอ้วนอันตราย

มีปัญหาสุขภาพ ต้องการควบคุมน้ำหนัก ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ต้องยอมรับว่าอาหารสำคัญต่อเรื่องสุขภาพมากโดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่เรามีเทรนด์การรับประทานอาหารรวมถึงข้อมูลมากมายจนอาจทำให้เราสับสนได้ว่าจริง ๆ แล้วร่างกายของเราต้องการอาหารแบบใด 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร และปรึกษาเภสัชกรบนแอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมสินค้าถึงมือ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

สุกัญญา รัตนกุญชร

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Bda. (n.d.). Dietitian or nutritionist? https://www.bda.uk.com/about-dietetics/what-is-dietitian/dietitian-or-nutritionist.html

 

Cooper, J. (2017, July 6). Do I need a nutritionist or dietitian? WebMD. https://www.webmd.com/diabetes/nutritionist-dietitian-choose

โปรแกรมควบคุมน้ำหนักเฉพาะบุคคลกับนักกำหนดอาหารจาก BeDee

BeDee มีแพ็กเกจปรึกษาการควบคุมน้ำหนักกับนักกำหนดอาหาร วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พร้อมออกแบบแนวทางการทานอาหารแบบ Personalize ที่เหมาะสมกับร่างกายและความต้องการของคุณอย่างตรงจุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways สาเหตุการเกิด PM 2.5 มีหลายปัจจัย เช่น ธรรมชาติ การก่อสร้าง การคมนาคม การเผาไหม้ ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ผื่นคัน ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ หากมีอาการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ควรปรึกษาแพทย์ สารบัญบทความ ฝุ่น PM 2.5 เก

Key Takeaways ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด หรือโรคปอด หากฝุ่น PM 2.5 สะสมอยู่ในร่างกายไปเรื่อย ๆ อาจเป็นปัจจัยให้เ