RSV คือ

เด็กเล็กยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่นัก จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ไวรัส RSV คือหนึ่งในไวรัสที่เป็นอันตรายต่อเด็กเล็กอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ และเสียชีวิตได้ในที่สุด มาทำความเข้าใจเลยว่า RSV คืออะไร ทำไมถึงอันตรายในเด็กเล็ก เพื่อตระหนักถึงความอันตราย และให้ความสำคัญในการป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากไวรัส RSV

สารบัญบทความ

ไวรัส RSV คืออะไร?

Respiratory Syncytial Virus หรือ RSV คือ ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม บนผิวเปลือกหุ้มมีไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) ที่สามารถเกาะติดกับเซลล์ในระบบทางเดินหายใจของมนุษย์หรือ Host และยังมีฟิวชันโปรตีน (Fusion protein) ที่ทำให้ RSV สามารถแทรกตัวเข้าไปในเยื่อหุ้มเซลล์ของ Host เพื่อรวมตัวกันระหว่างเซลล์ Host และไวรัส ด้วยเหตุนี้ทำให้ไวรัส RSV เป็นไวรัสที่ก่อโรคได้ในระบบทางเดินหายใจ

 

โดยทั่วไปการติดเชื้อไวรัส RSV จะอยู่ที่บริเวณจมูกและลำคอ ทำให้อาการหลังติดเชื้อ RSV คล้ายไข้หวัดทั่วไป แต่เมื่อเชื้อไวรัส RSV ลงสู่หลอดลมและปอด สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวม หลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ และก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV จะมีอาการอย่างไร

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส RSV แล้ว มักจะมีระยะฟักตัวเฉลี่ยอยู่ประมาณ 4-6 วันก่อนแสดงอาการ โดยผู้ติดเชื้อไวรัส RSV อาการเริ่มแรกคล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดาคือ ไอ จาม มีน้ำมูก อาจมีไข้ร่วมด้วย 

 

แต่เมื่อเชื้อไวรัส RSV เริ่มแพร่ลงไปยังทางเดินหายใจส่วนล่างมากขึ้น อาการจากการติดเชื้อ RSV ก็จะรุนแรงมากขึ้น เช่น 

  • ไอแรงมากจนอาเจียน 
  • มีเสมหะมาก
  • หายใจหอบเหนื่อย 
  • หายใจลำบาก 
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • ไข้สูง 

ซึ่งอาการเหล่านี้แสดงถึงการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบ เป็นต้น

 

ปรึกษาอาการ RSV กับคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

ลักษณะอาการที่ควรเฝ้าระวัง

ลักษณะอาการที่ต้องระวังของ RSV คืออะไร

ลักษณะอาการของผู้ติดเชื้อ RSV ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ 

  • ไอแรงมากจนอาเจียน
  • ไข้ขึ้นสูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส
  • หายใจยากหรือได้ยินเสียงหวีด
  • เบื่ออาหาร
  • ซึม
  • ตัวซีด

ส่วนใหญ่แล้วอาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส RSV มักจะไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ในผู้ใหญ่และเด็กโตที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่ในบางรายโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ, เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ, เด็กที่มีโรคประจำตัวตั้งแต่กำเนิดอย่างโรคหัวใจ, เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือแม้แต่ในผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่แข็งแรง อาจมีโอกาสพบอาการรุนแรงจากการติดเชื้อ RSV ได้สูง 

 

หากหลังติดเชื้อไวรัส RSV แล้วพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากมีโอกาสเสียชีวิตสูงจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและโรคแทรกซ้อน

RSV สามารถแพร่เชื้อได้อย่างไร

RSV คือหนึ่งในไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อได้ผ่านทางสารคัดหลั่ง ยกตัวอย่างเช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ซึ่งผู้ที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งนั้นอาจสัมผัสผ่านละอองสารคัดหลั่งจากการที่ผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือมือเผลอไปสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส RSV ไม่ว่าจะสัมผัสสารคัดหลั่งมาจากช่องทางใดก็มีโอกาสติดเชื้อ RSV ได้เช่นกัน เนื่องจากเชื้อไวรัส RSV สามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกาย (Host) ได้นานหลายชั่วโมง

ปัจจัยใดที่มีผลต่อความรุนแรงของไวรัส RSV 

สาเหตุของ RSV คืออะไร

การแสดงอาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV นั้นมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงเหมือนไข้หวัดธรรมดา ไปจนถึงระดับรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิต ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้นมีดังนี้

  • อายุ : เด็กจะมีโอกาสติดเชื้อ RSV ได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กเล็ก เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด รวมถึงผู้สูงอายุ ก็จะมีโอกาสที่จะพบอาการติดเชื้อรุนแรง
  • ระบบภูมิคุ้มกัน : เด็กหรือคนทั่วไปที่ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อรุนแรงมากกว่าคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันปกติ
  • โรคประจำตัว : ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การติดเชื้อ RSV รุนแรงขึ้น
  • ปัจจัยอื่น : เช่น เด็กที่สัมผัสกับควันบุหรี่บ่อย ๆ

ใครบ้างคือกลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังการติดเชื้อไวรัส RSV?

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV คือบุคคลกลุ่มใด?

  • เด็กเล็ก
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้สูงอายุ

การตรวจวินิจฉัยไวรัส RSV ทำอย่างไร 

การตรวจวินิจฉัยว่าอาการป่วยที่เกิดขึ้นเกิดจากไวรัส RSV หรือไม่ สามารถตรวจได้โดยการส่งสารคัดหลั่งไปตรวจในห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งด้วยการป้ายโพรงจมูก คล้ายกับการเก็บตัวอย่างสำหรับตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่ และอาจมีการเอกซเรย์ปอดเพิ่ม กรณีที่สงสัยว่าเชื้อไวรัส RSV ลุกลามไปยังปอด

 

แต่โดยปกติแล้ว หากผู้ป่วยมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง แพทย์อาจยังไม่พิจารณาเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เนื่องจากการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสมักจะเป็นการรักษาไปตามอาการ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส RSV หรือเชื้อไวรัสตัวอื่น ๆ ก็ตาม

วิธีการรักษาเมื่อติดไวรัส RSV 

การติดเชื้อไวรัส RSV จะใช้วิธีการรักษาแบบตามอาการ เช่น การใช้ยาลดไข้กรณีที่มีไข้ ใช้ยาบรรเทาอาการไอ ยาขับเสมหะ ยาลดน้ำมูก เป็นต้น โดยผู้ที่มีอาการติดเชื้อไวรัส RSV ระดับไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้โดยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

 

แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและแสดงอาการรุนแรง เช่น หายใจหอบ มีเสียงหวีด ไอแรง ไข้สูง เซื่องซึม อาจต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เช่น ให้ออกซิเจน พ่นยาขยายหลอดลม ให้สารน้ำ ดูดเสมหะ เป็นต้น

 

ปรึกษาอาการ RSV กับคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

วิธีป้องกันให้ปลอดภัยจากไวรัส RSV

RSV รักษายังไง

กันไว้ดีกว่าแก้ BeDee ขอแนะนำวิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV ลดโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ ดังนี้

  • ล้างมือบ่อย ๆ ลดโอกาสการสัมผัสกับเชื้อไวรัส RSV และเชื้อโรคอื่น ๆ เนื่องจากการสัมผัสบริเวณตา จมูก ปาก หยิบจับอาหาร สามารถนำเชื้อโรคบนมือเข้าสู่ร่างกายได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงจากภายใน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • อยู่ในที่ที่อากาศเปิดโล่ง ถ่ายเทสะดวก

 

สำหรับเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV ผู้ปกครองควรดูแลให้เด็กรักษาตัวและพักผ่อนอยู่ในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก เนื่องจากเด็ก ๆ จะมีความระวังตัวต่ำ อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อมากขึ้น และสำหรับผู้ใหญ่เองก็ต้องระมัดระวังการสัมผัสเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV ถึงแม้ว่าไวรัสนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการในผู้ใหญ่ก็ตาม แต่หากสัมผัสโดนสารคัดหลั่งเด็กโดยที่ไม่ได้ป้องกันอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อไปยังเด็กคนอื่นได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ RSV 

1. RSV ระบาดช่วงเดือนไหน?

ไวรัส RSV มักจะระบาดในช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือในช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงพฤศจิกายน

2. หากเคยติดเชื้อ RSV สามารถกลับมาติดเชื้อซ้ำได้หรือไม่?

ถึงแม้ว่าจะเคยติดเชื้อไวรัส RSV ไปแล้ว แต่หากร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตกก็สามารถกลับมาติดเชื้อซ้ำได้

3. ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดธรรมดาและ RSV คืออะไร?

ไข้หวัดธรรมดามักจะมีอาการเพียงไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เสมหะ และมีไข้ ส่วนใหญ่มักหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่สำหรับไวรัส RSV นั้นสามารถพัฒนาจนก่อให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจจนทำให้มีอาการแสดงที่รุนแรงได้

4. ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อ RSV ได้ไหม? ติดแล้วรุนแรงมากไหม?

ถึงแม้ว่าเชื้อไวรัส RSV จะพบการติดเชื้อในเด็กได้บ่อยกว่าในผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อ RSV ได้เช่นกันหากมีภูมิคุ้มกันต่ำหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการติดเชื้อ RSV ในผู้ใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรงและไม่ต่างจากไข้หวัดธรรมดา แต่ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อรุนแรงได้เช่นกัน

สรุป RSV ไวรัสอันตราย ไม่แน่ใจรีบปรึกษาแพทย์ด่วน 

การติดเชื้อไวรัส RSV ในเด็กจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ในบางรายอาจแสดงอาการคล้ายหวัด แต่ในบางรายอาจมีการแพร่กระจายของเชื้อลงปอด ก่อให้เกิดการอักเสบของปอด หลอดลมใหญ่ หลอดลมฝอย 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ.วรรณพร เกตุเลิศประเสริฐ 

เภสัชกร

Borchers, AT. Chang, C. Gershwin, ME. & Gershwin, LJ. (2013). Respiratory syncytial virus–a comprehensive review. Clinical Reviews in Allergy & Immunology, 45(3): 331–379. doi:10.1007/s12016-013-8368-9

Respiratory Syncytial Virus Infections. (n.d.). National Library of Medicine. https://medlineplus.gov/about/using/citation/

 

Respiratory syncytial virus (RSV). (n.d.). NSW Health. https://www.health.nsw.gov.au/Infectious/factsheets/Pages/respiratory-syncytial-virus.aspx

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารบัญบทความ ทำไมต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  เราคงเคยได้ยินกันว่า “นมแม่” ดีที่สุดสำหรับเด็กทารก องค์กรอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children’s Fund: UNICEF) ได้ออกมาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้

แพมเพิสยี่ห้อไหนเหมาะกับเด็กแรกเกิด ควรเลือกแพมเพิสอย่างไรให้เหมาะกับลูกน้อย พร้อมสิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกซื้อแพมเพิส