เริมที่ปาก

“เริม” เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังที่อาจไม่รุนแรง แต่เมื่อติดเชื้อแล้วกลับสร้างผลกระทบได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะการเป็นเริมที่ปาก ที่นอกจากจะทำให้เรารู้สึกรำคาญใจแล้ว ยังทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ อาย ไม่กล้าเจอใครเพราะกลัวโดนทักทุกครั้งที่ปากเป็นเริม

 

น้อยคนที่จะรู้ว่าการเป็นเริมที่ปากควรจะต้องดูแลตนเองยังไง ทำให้หลาย ๆ คน ยังคงวนเวียนอยู่กับการเป็นเริมที่ปากบ่อยมาก ทรมานกับอาการคันและแสบร้อนเป็นประจำ

 

พอแล้วกับการต้องเป็นเริมที่ปากซ้ำๆ BeDee จะพาคุณไปทำความเข้าใจกับเรื่องของเริมที่ปาก ตั้งแต่เริมที่ปากเกิดจากอะไร? อาการ วิธีการรักษา รวมไปจนถึงการดูแลตนเองไม่ให้กลับมาเป็นเริมที่ปากซ้ำอีก

สารบัญบทความ

เริมที่ปาก คืออะไร

เริมที่ปาก (Herpes Labialis หรือ Cold Sores) คือ โรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส Herpes Simplex Virus Type 1 (HSV-1) เป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลโรคเริมสามารถพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ประมาณ 3.7 พันล้านคนโดยการติดเชื้อไวรัสนี้ สังเกตเห็นได้ยากมาก บางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย รู้ตัวอีกทีก็จะเป็นตอนที่ภูมิต้านทานอ่อนแอลง ทำให้เริมขึ้นมาจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน 


รู้จักกับโรคเริมมากขึ้น: รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับเริม โรคติดต่อที่ใครก็ไม่อยากเป็น

ลักษณะของเริมที่ปาก

ลักษณะเริมที่ปาก

ลักษณะเริมที่ปากของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นด้วย แต่โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะให้สังเกตได้ ดังนี้

  • ลักษณะของรอยโรคนั้นจะเป็นตุ่มน้ำใสขนาดเล็ก
  • มักเกิดขึ้นเรียงตัวกันเป็นกลุ่มประมาณ 2-10 เม็ด 
  • บริเวณที่เกิดเริมมักอยู่รอบๆริมฝีปาก บนริมฝีปาก หรือขอบริมฝีปาก และสามารถพบได้ภายในช่องปาก ลิ้น หรือบนใบหน้าได้เช่นกัน

สาเหตุของเริมที่ปาก

หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้ว่าการที่ปากเป็นเริม สาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง จึงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของเรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • สัมผัสกับเชื้อไวรัสเริมโดยตรง เช่น การสัมผัสผิวหนัง บาดแผล น้ำลาย น้ำเหลือง 
  • หากคู่ของเรามีเชื้อเริม การสัมผัส จูบ หรือการร่วมเพศทางปาก (oral sex) ก็อาจทำให้ติดเชื้อเริมที่ปากได้เช่นกัน
  • ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับคนที่มีเชื้อไวรัสเริม เช่น แก้วน้ำ เครื่องสำอาง มีดโกน แปรงสีฟัน ช้อนส้อม
  • กรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ หากคนที่กำลังตั้งครรภ์ได้รับเชื้อเริม ก็จะมีโอกาสที่ในระหว่างการคลอด ทารกจะได้รับเชื้อเริมไปด้วย ซึ่งกรณีนี้ควรแพทย์ผู้ชำนาญการ เนื่องจากอาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

อาการของเริมที่ปาก

สำหรับใครที่ไม่เคยเป็นเริมที่ปากมาก่อน แล้วอยากลองเช็คตัวเองดู หรือมีตุ่มเกิดขึ้นแต่ไม่มั่นใจว่าใช่เริมที่ปากรึเปล่า สามารถสังเกตอาการเริมที่ปากได้ดังนี้

  • เกิดตุ่มน้ำพองขนาดเล็กขึ้นเป็นกลุ่ม
  • บริเวณที่เกิดตุ่มคือ รอบริมฝีปาก บนริมฝีปาก หรือขอบริมฝีปาก
  • รู้สึกคันหรือปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณนั้นๆ
  • สังเกตเห็นว่า เมื่อตุ่มน้ำแตกออก มีอาการลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียงมากขึ้น
  • มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นไข้ อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองบวม หรืออาการคล้ายไข้หวัด 
  • บางรายอาจมีการกลับมาเป็นเริมที่ปากซ้ำที่บริเวณเดิม
  •  
ปรึกษาเรื่องเริมที่ปากกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา

ระยะการเกิดเริมที่ปาก

ระยะการเกิดโรคเริมที่ปาก

ระยะการเกิดเริมที่ปาก จะแบ่งออก 5 ระยะหลักๆ ได้แก่

  • ระยะแรกเริ่มของเริมที่ปาก จู่ๆ คุณจะเริ่มรู้สึกแสบร้อนและคันบริเวณริมฝีปาก ตำแหน่งรอบ ๆ หรือบนริมฝีปากแบบไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นภายในประมาณ 1-2 วันก่อนเกิดตุ่มเริมที่ปาก 
  • ระยะที่ 2 มีตุ่มใสขนาดเล็ก สีแดงๆ พองออกมาจากผิวหนัง โดยมีลักษณะการเรียงตัวแบบกระจุกเป็นกลุ่ม รู้สึกคัน แสบร้อน และอาจเจ็บได้เมื่อสัมผัสกับเริมที่ปาก
  • ระยะที่ 3 ตุ่มเริมที่ปากจะเริ่มแตกออก มีน้ำใส ๆ ออกมาจากตุ่มเริม รู้สึกแสบ จากนั้นตุ่มกลายเป็นแผล ซึ่งมีโอกาสที่เริมที่ปากจะลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียงด้วย
  • ระยะที่ 4 จากตุ่มเริมที่ปากกลายมาเป็นแผลเริม แผลเริมจะเริ่มแห้ง มีการตกสะเก็ตและหลุดลอกออกไป คุณจะรู้สึกคันมาก แต่แนะนำว่าควรอดทนและไม่ควรเกาแผล เพราะอาจทำให้แผลแย่ลงกว่าเดิมได้ 
  • ระยะที่ 5 แผลตกสะเก็ตหลุดลอกไปจนหมด แผลจางลงมาก ไม่มีอาการเริมที่ปากใดๆ เกิดขึ้น

 

นอกเหนือจากอาการที่กล่าวมา ในบางคนอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบวม ฯลฯ ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มคนที่เพิ่งเป็นเริมที่ปากครั้งแรก สำหรับคนที่เคยเป็นเริมแล้วอาจเป็นซ้ำได้อีกในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่ก็ได้ การมีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ความเครียด การสัมผัสแสงแดด และเป็นไข้ นับเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้

อาการแทรกซ้อนของเริมที่ปาก

การเป็นเริมที่ปากอันตรายไหม? ถึงแม้ว่าเริมที่ปากจะเป็นโรคที่ไม่ได้รุนแรง แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้เช่นกัน 

 

เริมที่ปากมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำพอง หากเราดูแลรักษาความสะอาดได้ไม่ดีพอ ก็อาจกลายเป็นตุ่มหนองได้ และเมื่อตุ่มเริมแตกออก ก็มีโอกาสที่จะเกิดการลุกลามของเชื้อไวรัสกระจายไปยังส่วนที่อยู่ใกล้เคียง

 

ยกตัวอย่างเช่น การที่เริมลุกลามไปใกล้บริเวณดวงตา หากเชื้อไวรัสเข้าไปในดวงตา มีความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสียการมองเห็นได้

 

นอกจากนี้ เริมที่ปากก็ยังเกิดขึ้นในทารกหรือเด็กเล็กได้เช่นกัน และอาการรุนแรงเหมือนกับคนที่เป็นเริมที่ปากครั้งแรก หากสังเกตเห็นว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ฯลฯ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยเร็ว

เริมที่ปากติดต่อได้หรือไม่

เริมที่ปาก ติดต่อไหม? เริมที่ปากเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังที่มาจากการติดเชื้อไวรัส Herpes Simplex Virus (HSV) จึงทำให้เริมที่ปากสามารถติดต่อได้

 

โดยช่องทางที่มักมีการแพร่กระจายเชื้อเป็นส่วนใหญ่คือ การสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ เช่น สัมผัสโดยดื่มน้ำแก้วเดียวกัน การจูบหรือหอมแก้ม เป็นต้น ถึงแม้ว่าคนๆนั้นไม่มีแผลอะไรให้สังเกตเห็น ก็สามารถแพร่เชื้อไวรัสเริมได้เช่นกัน

การรักษาเริมที่ปาก

ต้องขอบอกไว้ก่อนว่า “เริมที่ปาก” เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน แต่วิธีการรักษาที่มีอยู่จะเน้นไปที่การช่วยบรรเทาอาการ ลดความรุนแรงของโรค และช่วยทำให้แผลเริมที่ปากหายได้เร็วขึ้น ซึ่งวิธีรักษาเริมที่ปาก มีดังนี้

  • ยาทาเริมที่ปาก เช่น ยาต้านไวรัส Herpes ในรูปแบบบรรเทาอาการแสบร้อนและเจ็บแผล
  • ยาต้านไวรัสในรูปแบบรับประทาน ซึ่งขนาดยาและการเลือกใช้นั้นจะขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและวินิจฉัยของแพทย์
  • การดูแลตนเองเพิ่มเติม เช่น การประคบเย็นด้วยน้ำเกลือบริเวณที่เป็นเริม 5-10 นาที จะช่วยลดอาการระคายเคือง เป็นต้น

ปรึกษาเรื่องยารักษาเริมที่ปากกับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา!

การดูแลแผลเมื่อเป็นเริมที่ปาก

เริมที่ปาก ทายาอะไร

ในส่วนของการดูแลแผลเมื่อเป็นเริมที่ปากด้วยตนเอง สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงแค่

  • ทานยาต้านไวรัสตามเวลาที่แพทย์แนะนำ
  • ไม่แคะ แกะ เกา แผลเริม
  • หมั่นทาขี้ผึ้งหรือครีมทาต้านไวรัส

 

หากมีโรคเครียด หรือมีความเครียดบ่อยๆ ต้องหาวิธีจัดการที่เหมาะสม เพราะความเครียดเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เริมคงอยู่

การป้องกันไม่ให้เป็นเริมที่ปาก

ป้องกันเริมที่ปาก

สำหรับคนที่ไม่อยากเป็นเริมที่ปาก ก็สามารถป้องกันตนเองได้ด้วยวิธีการเหล่านี้

  • พยายามไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวปะปนกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ผ้าขนหนู มีดโกนหนวด เป็นต้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดหรือความวิตกกังวล
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  • รักษาสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ เช่น ล้างมือบ่อยๆ ไม่สัมผัสกับบาดแผลของคนอื่นโดยตรง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส จูบ หรือร่วมเพศทางปาก(Oral sex) กับคนที่มีเชื้อเริม
  • ไม่อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน
  • นอกจากนี้อาจมีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ ที่อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น การมีประจำเดือน การเข้ารับการทำเคมีบำบัด(chemotherapy) การผ่าตัด การทำทันตกรรม เป็นต้น

เริมที่ปากกับโรคทางผิวหนังอื่น ๆ

เริมที่ปาก อาจมีลักษณะคล้ายกับโรคผิวหนังอื่นๆ ซึ่งคุณสามารถแยกความแตกต่างได้ ดังนี้

  • ร้อนใน เกิดที่บริเวณปากเหมือนกัน แต่แตกต่างจากเริมที่ปากตรงที่มักจะเกิดภายในช่องปาก แผลขนาดเล็ก แบน ไม่สามารถติดต่อไปสู่คนอื่นได้
  • โรคงูสวัด มีอาการแสบร้อนเหมือนกัน แตกต่างตรงที่โรคงูสวัดจะเกิดบริเวณผิวหนังตามเส้นประสาท

 

หากไม่มั่นใจว่าเป็นอะไรกันแน่? BeDee เรามีแอปฯ ที่บริการปรึกษาหมอออนไลน์โดยเฉพาะ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถเข้าพบแพทย์ได้แบบง่าย ๆ อีกทั้งยังมาพร้อมกับบริการสั่งซื้อยาออนไลน์ พร้อมปรึกษาเภสัชกรฟรี ต้องการยารักษาเร่งด่วน คุณภาพดีๆ ส่งเร็วไวภายใน 90 นาที สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

Line Official : @BeDeebyBDMS

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเริมที่ปาก

เริมที่ปาก กี่วันจึงจะหาย?

เริมที่ปาก กี่วันหาย? โดยทั่วไปอาจใช้ระยะเวลาอยู่ที่ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและการดูแลรักษาความสะอาดด้วย

เริมที่ปากสามารถหายเองได้ไหม?

เริมที่ปาก หายเองได้ไหม? คำตอบก็คือ สามารถหายเองได้ โดยวิธีรักษาเริมที่ปากให้หายเร็วที่สุด คือ การดูแลตนเองแบบองค์รวม ทั้งการทานยาต้านไวรัส ทายาแผลเริม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

สามารถแยกโรคเริมที่ปาก จากโรคปากนกกระจอกได้อย่างไร?

ปากนกกระจอกมักจะเกิดภาวะอักเสบ โดยสังเกตได้จากการบวมตึง มีรอยแดง รู้สึกระคายเคืองบริเวณมุมปาก 

เป็นเริมที่ปากบ่อยมาก ต้องทำอย่างไร?

สังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดเริมซ้ำๆ

เริมที่ปาก ห้ามกินอะไร?

เป็นเริมที่ปากห้ามกินอะไร? ไม่ควรกินอาหารประเภทหมักดอง ปลาร้า ของที่มีรสเปรี้ยวหรือรสเผ็ด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สรุปเริมที่ปาก

“เริมที่ปาก” โรคติดต่อทางผิวหนังที่เมื่อติดเชื้อแล้วไม่สามารถหายขาดได้ แต่เราสามารถลดโอกาสการกลับมาเป็นเริมที่ปากซ้ำ ๆ ได้ด้วยการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี ขจัดปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดเริม และเมื่อมีความผิดปกติ หรืออาการรุนแรงมากขึ้น ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที 

ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

ภก. ธวัชชัย กิจการพัฒนาเลิศ

เภสัชกร

 

 

Gompf, S.G. (2022, January 4). Cold Sores (Oral Herpes, Herpes Labialis). MedicineNet. https://www.medicinenet.com/herpes_simplex_infections_non-genital/article.htm


HERPES SIMPLEX: WHO GETS AND CAUSES. (n.d.). American Academy of Dermatology Association. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/herpes-simplex-causes


Johnson, Jon. (2018, December 10). Herpes simplex: Everything you need to know. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/323935


Selner, M. (2012, July 18). Cold Sores. Healthline. https://www.healthline.com/health/herpes-labialis

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways ท้องในวัยเรียนมีความเสี่ยงสูง เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง และการคลอดก่อนกำหนดซึ่งอาจทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ หากผู้ปกครองสังเกตว่าลูกที่ท้องไม่พร้อมในวัยเรียนเริ่มมีอาการเก็บตัว ซึมเศร้า แยกตัวออกจากสังคม สามารถ

Key Takeaways เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง ควรป้องกันโรคติดต่อและการท้องไม่พร้อม ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยและยาคุมกำเนิด  ปัจจัยเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรคือ อาจทำให้เนื้อเยื่อในช่องคลอดฉีกขาด เนื่องจากร่างกายยังไม่พร้อมต่อการมีเพศสัมพันธ์ เมื่