โรคไทรอยด์อาจเป็นชื่อที่หลายคนอาจคุ้นเคยหรือเคยได้ยินมาไม่มากก็น้อย แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าไทรอยด์นั้นที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่ เป็นโรคแบบไหน สามารถส่งผลอะไรกับร่างกายของคุณได้บ้าง ในบทความนี้ทาง BeDee จะพาคุณไปรู้จักกับไทรอยด์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไ
ไอเรื้อรัง หลายสัปดาห์ หยุดไอไม่ได้รีบเช็กสาเหตุด่วน
คุณกำลังประสบปัญหาไอเรื้อรัง ไอไม่หายสักที จนรบกวนคนรอบข้างหรือไม่? อาการไอเรื้อรังเป็นปัญหาที่อาจดูเพียงแค่น่ารำคาญแต่ในความเป็นจริงอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคอันตรายที่ควรรับการรักษาโดยเร็ว หากคุณหรือคนรอบข้างมีอาการไอเรื้อรัง กินยาแก้ไอแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ไอนานติดต่อกันหลายสัปดาห์และไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลง ไม่ควรปล่อยไว้และรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากเกิดเป็นโรคอันตรายจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
อาการไอ คืออะไร
อาการไอเป็นกลไกการป้องกันตัวเองของระบบทางเดินหายใจเพื่อขับสารคัดหลั่ง สารก่อการระคายเคือง เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมที่หลุดรอดเข้ามาเพื่อไม่ให้ลงไปยังอวัยวะสำคัญอย่างปอดจนเกิดอันตรายขึ้น
โดยปกติแล้วเราจะหายใจนำอากาศเข้าผ่านทางจมูกลงผ่านช่องคอที่มีหลอดลมและหลอดอาหาร ขณะหายใจหลอดอาหารจะถูกปิดเพื่อให้ลมเข้าทางหลอดลมและลงไปสู่ปอด ระหว่างทางที่อากาศเดินเข้าสู่ปอดนั้นจะมีกลไกต่าง ๆ ในการคัดกรองสิ่งแปลกปลอม เช่น ขนจมูก สารคัดหลั่ง ขนบุและเมือกในหลอดลม ซึ่งหากเป็นสิ่งแปลกปลอมที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ก็มักจะถูกดักจับตั้งแต่โพรงจมูกซึ่งเป็นระบบทางเดินหายใจส่วนบนและรวมตัวกับสารคัดหลั่งกลายเป็นน้ำมูก
แต่สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กที่หลุดรอดจากการป้องกันของโพรงจมูกได้ก็จะไปเจอขนบุที่หลอดลม บริเวณขนบุจะมีเมือกเกาะสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาถึงส่วนนี้จะถูกปกคลุมด้วยเมือกและโบกพัดขึ้นไปหลอดลมส่วนบนและร่างกายก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการไอขึ้นเพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมออกไป
นอกจากนี้อาการไอยังเกิดขึ้นจากการระคายเคืองของหลอดลมจากสารคัดหลั่ง การสำลักน้ำและอาหาร รวมถึงมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทางเดินหายใจได้อีกด้วย
อาการไอสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามระยะเวลาการไอ ดังนี้
- ไอเฉียบพลัน : ระยะเวลาไอไม่เกิน 3 สัปดาห์
- ไอกึ่งเฉียบพลัน : ระยะเวลาไออยู่ในช่วง 3-8 สัปดาห์
- ไอเรื้อรัง : ระยะเวลาไอมากกว่า 8 สัปดาห์
ไอเรื้อรัง คืออะไร
อาการไอเรื้อรัง (Chronic Cough) คืออาการไอที่กินระยะเวลานานกว่า 8 สัปดาห์ ซึ่งอาการไอเรื้อรังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเนื่องจากอาการไอเป็นกลไกในการปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจอุดตันหรือหลุดรอดลงมาในหลอดลมรวมถึงการแสดงอาการอักเสบของหลอดลมอีกด้วย เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมารบกวนทางเดินหายใจร่างกายจึงมีปฏิกิริยาในการปกป้องตนเอง แต่หากเกิดการอักเสบต่อเนื่องหรือสิ่งที่เข้ามารบกวนทางเดินหายใจไม่หายไปก็จะเกิดการไออย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นอาการไอเรื้อรัง
สาเหตุของการไอเรื้อรังเกิดจากอะไร
อาการไอเรื้อรังมีหลายสาเหตุ ดังนี้
- ไอเรื้อรังจากไข้หวัด ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยมากเนื่องจากหลอดลมอักเสบจากการติดเชื้อ
- น้ำมูกไหลลงคอ ในผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้จะทำเยื่อบุจมูกระคายเคืองและสร้างน้ำมูกออกมา น้ำมูกนั้นอาจไหลลงช่องคอทำให้เกิดอาการระคายเคืองและมีอาการไอได้
- การสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารก่อระคายเคือง สารพิษอันตรายมากมาย ซึ่งสารเหล่านี้ในบุหรี่จะไปทำให้หลอดลมอักเสบทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง
- การใช้เสียงมากเกินไป ผู้ที่ต้องทำงานในลักษณะพูดบ่อย ๆ จำเป็นต้องพูดเสียงดัง รวมถึงขาดการพักผ่อนอย่างเหมาะสมก็จะทำให้หลอดลมอักเสบและมีอาการไอเรื้อรัง
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตกลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor (ACE-I)
- โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและโรคจากระบบอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการไอเรื้อรัง
โรคที่อาจทำให้มีอาการไอเรื้อรัง
อาการไอเรื้อรังเป็นอาการที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจและในผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น
- โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) : เกิดจากหลอดลมสัมผัสกับสารก่อระคายเคืองอย่างต่อเนื่อง พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้, ผู้ที่สูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะอยู่เป็นประจำ ผู้ป่วยมักมีอาการไอแบบมีเสมหะ หรืออาจไอแห้ง ๆ คันคอ เรื้อรังก็ได้
- โรคภูมิแพ้อากาศ โรคจมูกอักเสบเรื้อรัง (Allergic rhinitis) : เมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น สารก่อภูมิแพ้จะทำให้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลลงคอ ทำให้ช่องคอระคายเคืองและเกิดอาการไอเรื้อรังได้
- โรคหอบหืด (Bronchial Asthma) : เป็นภาวะที่หลอดลมหดเกร็งหรือบวมจนทำให้อากาศไหลผ่านเข้าสู่ปอดได้ยาก การไอในโรคหอบหืดจะเป็นกลไกที่ร่างกายพยายามนำอากาศเข้าสู่ร่างกาย โดยอาการมักจะกำเริบเมื่อเจอกับสิ่งกระตุ้น เช่น สภาพอากาศ, สารก่อภูมิแพ้, การออกกำลังกาย, ความเครียด เป็นต้น
- ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอและทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีไซนัสอักเสบ (Paranasal Sinusitis) ร่วมด้วย โดยที่สาเหตุของโรคเป็นภูมิแพ้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงพบโรคนี้ร่วมกับโรคหอบหืดในผู้ป่วยคนเดียวกันได้บ่อย
- โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) : ในผู้ป่วยกรดไหลย้อนนั้นจะมีกรดไหลขึ้นมาสู่หลอดอาหารและหากขึ้นมาถึงส่วนลำคอก็จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและมีอาการไอเรื้อรังได้
มาดูวิธีสังเกตกันว่า กรดไหลย้อนมีอาการอะไรบ้าง?
- วัณโรคปอด (Tuberculosis) : เกิดจากการติดเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ผ่านทางระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดความผิดปกติภายในปอด
- มะเร็งปอด (Lung cancer) : เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปอดเกิดการแบ่งตัวผิดปกติทำให้เกิดเป็นลักษณะก้อนเนื้องอกที่ปอด
ผลกระทบของไอเรื้อรัง
ถึงแม้ว่าอาการไอจะเป็นกลไกที่มีประโยชน์เพื่อขับสิ่งแปลกปลอมไม่ให้ลงสู่ปอดจนเกิดอันตราย แต่การไอเรื้อรังนั้นก็ส่งผลกระทบต่อปอด อวัยวะส่วนอื่น รวมถึงมีผลกระทบต่อบุคลิกภาพและปัญหาทางจิตใจ ดังนี้
- เนื้อเยื่อหลอดลมอักเสบและฉีกขาด
- ปอดมีแรงดันมากเพิ่มโอกาสที่ที่ปอดจะแตกและอากาศรั่ว
- มีอาการเจ็บหน้าอก
- เสียงแหบ
- อาเจียน
- เส้นเลือดฝอยแตก
- ไส้เลื่อน
- ความสามารถในกลั้นปัสสาวะลดลง
- พักผ่อนได้ไม่เต็มที่เนื่องจากการไอเรื้อรังขณะนอนหลับ
การตรวจและวินิจฉัยไอเรื้อรัง
การตรวจและวินิจฉัยอาการไอเรื้อรังมีแนวทางดังนี้
- ซักถามประวัติ
แพทย์จะซักถามประวัติการเจ็บป่วย เช่น ไอแบบไหน, ไอมานานเท่าไหร่, มีโรคประจำตัวหรือกำลังใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่, มีอาการของโรคกรดไหลย้อนหรือไม่
- การตรวจระบบทางเดินหายใจ
กรณีที่สงสัยว่าอาการไอเรื้อรังมาจากโรคทางเดินหายใจ (ซึ่งพบได้มากที่สุด) แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์ปอด, การทำ CT Scan, การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจ, การตรวจเสมหะในห้องปฏิบัติการ, การตรวจสมรรถภาพของปอด (Pulmonary Function Test)
การรักษาไอเรื้อรัง
วิธีรักษาอาการไอที่ได้ผลดีนั้นจำเป็นต้องทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังเสียก่อน ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม หากอาการไอเรื้อรังมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียก็อาจต้องรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากอาการไอเรื้อรังมาจากสารก่อภูมิแพ้ก็อาจรับประทานยาแก้แพ้และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น
ปรึกษาอาการไอเรื้อรังกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา
ยาบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
หากมีอาการไอ หรืออาการไอเรื้อรังสามารถบรรเทาอาการไอได้ด้วยการใช้ยาบรรเทาอาการไอ โดยยาแก้ไอมีหลายประเภทและเหมาะกับการรักษาอาการไอรูปแบบที่แตกต่างกัน
- ยาแก้ไอเรื้อรังแบบมีเสมหะ ยากลุ่มนี้จะเน้นการขับเสมหะที่เป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง ตัวยาทำให้ภายในเยื่อบุหลอดลมระคายเคืองและผลิตสารคัดหลั่งเพื่อให้ไอ รวมถึงยาละลายเสมหะที่ช่วยลดความหนืดของเสมหะทั้งหมดนี้จะช่วยให้ขับเสมหะออกมาง่ายขึ้น
- ยาแก้ไอเรื้อรังแบบไม่มีเสมหะ ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ในการกดระบบประสาททำให้มีอาการไอลดลง ใช้บรรเทาอาการไอจากอาการแพ้ รวมถึงอาการไอเรื้อรังอื่น ๆ แบบไม่มีเสมหะเท่านั้น
นอกจากการรับประทานยาแก้ไอแล้วยังสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับช่องปากและลำคอเพื่อลดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจด้วย Nodogle mouth spray สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอ ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นช่องปากและลำคอ ลดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ และยังสามารถระงับกลิ่นปาก ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้อีกด้วย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไอเรื้อรัง
ไอเรื้อรังต้องกินอะไรถึงจะหาย?
หากมีอาการไอสามารถดื่มน้ำอุ่นหรืออาจรับประทานยาอมเพื่อลดอาการระคายเคืองในช่องคอ เพิ่มความชุ่มชื้นและละลายเสมหะได้ดีขึ้น
สรุปไอเรื้อรัง
อาการไอเรื้อรังเกิดได้หลายสาเหตุตั้งแต่โรคที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงโรคร้าย หากมีอาการไอติดต่อกันนานเกิน 8 สัปดาห์และสงสัยว่าจะมีอาการไอเรื้อรังควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
ไอเรื้อรัง อยากพบแพทย์แต่ไม่มีเวลาไปโรงพยาบาล? ปรึกษาหมอออนไลน์ที่แอปพลิเคชัน BeDee พบแพทย์จากโรงพยาบาลในเครือ BDMS ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทุกวัน ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Akhouri S, House SA. Allergic Rhinitis. [Updated 2023 Jul 16]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK538186/
Alhajjaj MS, Bajaj P. Chronic Cough. [Updated 2023 May 1]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK430791/
Bonvissuto, D. (2023, April 2023). Reasons Why Your Cough May Not Be Improving. WebMD. https://www.webmd.com/cold-and-flu/features/stubborn-cough